BiPAP คืออะไร เหมาะกับใคร และแตกต่างจาก CPAP อย่างไร?

BiPAP คืออะไร

BiPAP คืออะไร?

BiPAP คือ เครื่องช่วยหายใจ ชนิดแรงดัน 2 ระดับ (Bi-level Positive Airwar Pressure, BiPAP) สามารถตั้งให้ระดับแรงดันอากาศในจังหวะหายใจเข้าและหายใจออกมีค่าแตกต่างกันได้

เช่น ขณะหายใจเข้าแรงดันเป็น 15 cmH2O ขณะหายใจออกแรงดันเป็น 6 cmH2O เป็นต้น

เครื่อง BiPAP ใช้รักษาผู้ที่มีอาการนอนกรนหรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับขั้นรุนแรง ที่ต้องใช้แรงดันในการรักษาสูงๆ เช่น 15 cmH2O ขึ้นไปเป็นต้น

เนื่องจากสามารถกำหนดให้แรงดันตอนหายใจออกมีค่าต่ำๆได้ จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถหายใจออกได้ง่ายขึ้น ลดความอึดอัดเนื่องจากการที่ต้องหายใจออกสวนทางกับแรงลมที่เครื่องพ่นออกมา

ราคาเครื่อง BiPAP มีตั้งแต่ 95,000 – 125,000 บาท โดยส่วนใหญ่ แพทย์มักให้ผู้ป่วยใช้เครื่อง BiPAP ควบคู่กับ เครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator) เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ

BiPAP เหมาะสำหรับใคร

ภาวะนอนกรน เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาการนอนกรนที่อาจเป็นปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพก็คือ การกรนที่อยู่ในระดับปานกลางจนถึงขั้นรุนแรง ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย

สำหรับการรักษามีหลายทางเลือก เช่น รักษาด้วยวิธีผ่าตัด และการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ที่ได้รับความนิยมได้แก่การใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก

กรณีนอนกรนทั่วไปที่อาจส่งเสียงรบกวนคนใกล้ชิดและยังไม่อยู่ในขั้นรุนแรง อาจทำการรักษาด้วยเครื่อง  ซีแพพ (CPAP)

ส่วนคนที่อยู่ในภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือมีอาการกรนระดับปานกลางถึงขั้นรุนแรง ที่ต้องใช้แรงดันในการรักษาสูงๆ อุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับการรักษาได้แก่ เครื่อง BiPAP

BiPAP แตกต่างจาก CPAP อย่างไร

อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็นเครื่องช่วยหายใจที่นิยมนำมาใช้ต่อกับหน้ากากเพื่อรักษาผู้ที่นอนกรนหรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจถูกปิดกั้น มี 2 ประเภท ได้แก่

  1. อุปกรณ์ที่ให้ความดันบวก 2 ระดับ หรือเครื่อง BiPAP
  2. อุปกรณ์ที่ให้ความดันบวกคงที่ ได้แก่ เครื่อง CPAP

เครื่อง BiPAP จะให้แรงดันที่แตกต่างกันในขณะหายใจเข้าและออก ใช้รักษาผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับขั้นรุนแรง ซึ่งต้องใช้แรงดันในการรักษาสูงๆ เช่น เกินกว่า 15 cmH2O ขึ้นไป หรือใช้รักษาผู้ที่มีโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)

ส่วนเครื่อง CPAP จะให้แรงดันค่าเดียวทั้งขณะหายใจเข้าและออก ใช้รักษาผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ทุกระดับ แต่ไม่ต้องการแรงดันรักษาที่สูงมากนัก เช่น ต่ำกว่า 15 cmH2O เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม: อธิบาย ความแตกต่างระหว่างเครื่อง CPAP และ BiPAP แบบละเอียด

การทำงานของเครื่อง BiPAP

เครื่อง BiPAP มีหลักการทำงานในการช่วยหายใจ (Ventilation) โดยการอัดลมด้วยความดันสูงในช่วงที่หายใจเข้า และผ่อนความดันลงในช่วงหายใจออก ทำให้มีการขยายตัวของปอดและลดความต้านทานของระบบทางเดินหายใจที่มีการปิดกั้น

อธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือการใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน ลมที่เป่าเข้าไปจะไปถ่างทางเดินหายใจให้กว้างออก ทำให้ไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ

เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่นอนกรนในระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรงและมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ข้อดีของเครื่อง BiPAP ก็คือสามารถปรับระดับแรงดันได้ตามอาการของผู้ป่วย

เครื่อง BiPAP เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาอาการนอนกรน โดยแรงดันลมจะช่วยเปิดขยาย และถ่างทางเดินหายใจส่วนบนที่ถูกปิดกั้นให้ขยายหรือเปิดโล่ง

ทำให้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนธรรมดา ข้อดีได้แก่ปัจจุบันตัวเครื่อง BiPAP มีขนาดเล็ก สามารถพกพาไปที่ไหน ๆได้ค่อนข้างสะดวก

แนะนำอ่านเพิ่มเติม:

การตั้งค่าเครื่อง BiPAP

เครื่อง BiPAP จะมีหลักการตั้งค่า (Settings) ที่เป็นพื้นฐานดังนี้

  • Mode : เครื่อง BiPAP สามารถตั้งค่าโหมดการทำงานได้ดังนี้
    • Spontaneous (S Mode) – คนไข้เป็นคนกำหนดจังหวะและอัตราการหายใจเอง
    • Timed (T Mode) – เครื่องเป็นตัวกำหนดจังหวะและอัตราการหายใจให้คนไข้ทั้งหมด
    • Spontaneous/Timed (S/T Mode) – คนไข้เป็นคนกำหนดจังหวะและอัตราการหายใจเอง จนเมื่ออัตราการหายใจต่ำกว่าค่าที่กำหนด เครื่องจะปรับเป็น Timed Mode
    • CPAP Mode – เครื่องปล่อยแรงดันคงที่ เท่ากันทั้งจังหวะหายใจเข้าและออก
    • Optional Modes – โหมดอื่นๆ แล้วแต่รุ่นของเครื่อง เช่น PCV, SIMV
  • Backup Rate : การกำหนดค่าอัตราการหายใจขั้นต่ำ มีหน่วยเป็น Breaths per minute (BPM) ถ้าคนไข้มีอัตราการหายใจต่ำกว่าค่าที่กำหนดนี้ เครื่องจะปรับเป็น Timed Mode เพื่อช่วยหายใจให้คนไข้เองโดยอัตโนมัติ
  • IPAP : ระดับแรงดันที่เครื่องจะปล่อยให้ในจังหวะหายใจเข้า
  • EPAP : ระดับแรงดันที่เครื่องจะปล่อยให้ในจังหวะหายใจออก
  • Ramp: สามารถตั้งให้เครื่องปล่อยแรงดันอากาศที่ระดับต่ำๆ ในช่วงเริ่มต้นได้
Patient with BiPAP A40 and mask

ประโยขน์ของ BiPAP

เครื่อง BiPAP ช่วยรักษาโรคดังต่อไปนี้

  • อาการนอนกรน และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ขั้นรุนแรง
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD)
  • โรคทางประสาทและกล้ามเนื้อ Neuromuscular Disease
  • โรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ

อาการนอนกรน ที่เกิดจากปัญหาสุขภาพเช่น ป่วยเป็นไข้หวัดหรือภูมิแพ้ทำให้หายใจลำบาก และต้องหายใจทางปากจนเกิดเสียงกรน เมื่อดูแลรักษาสุขภาพอาการกรนก็จะหายได้เองหรือเป็นการกรนที่ไม่รุนแรง และไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

แต่การกรนเสียงดังอาจเป็นปัญหาสำหรับคนรอบข้างที่อยู่ใกล้ชิด เพียงแต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตนเองมากนัก ส่วนอันตรายที่เกิดจากภาวะนอนกรนที่อยู่ในขั้นรุนแรงได้แก่

  • มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่อาจเป็นอันตรายร้ายแรงและทำให้เสียชีวิตได้
  • ภาวะหยุดหายใจเป็นระยะ ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้ง่วงนอนระหว่างวันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการขับรถ
  • ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับทำให้ออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอ  หากเกิดขึ้นเป็นเวลานาน. ทำให้เกิดสารพิษในเลือดและนำไปสู่ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบประสาทและสมอง
  • ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เมื่อตื่นนอนจะรู้สึกไม่สดชื่น หงุดหงิดง่าย หรืออาจมีภาวะซึมเศร้าได้
  • อาการนอนกรนที่รุนแรง ยังส่งผลทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงหรือทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศอีกด้วย

สรุป

สำหรับอาการนอนกรนที่มีความรุนแรง และมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ การรักษาด้วยเครื่อง BiPAP ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถรักษาอาการนอนกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังหาซื้อได้ไม่ยาก เนื่องจากมีบริษัทตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย หลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ที่มีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจ คอยให้คำแนะนำพร้อมบริการหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน

E-Book เปรียบเทียบ BiPAP รุ่นต่างๆ
New call-to-action

8 ความคิดเห็น

    1. เครื่อง BiPAP แบบแรงดันคงที่ (Fixed) เครื่องจะปล่อยแรงดันลมขณะหายใจเข้า (IPAP) และแรงดันลมขณะหายใจออก (EPAP) แบบคงที่ตลอดเวลาตามค่าแรงดันที่ผู้ใช้กำหนดไว้ ส่วน Auto BiPAP นั้น ผู้ใช้จะกำหนดค่าแรงดัน IPAP/EPAP เป็นช่วงแรงดัน เช่น Min IPAP = 6 / Max IPAP = 15 เป็นต้น แล้วเครื่องจะปรับแรงดันลมให้อัตโนมัติแต่จะอยู่ภายในค่าที่เรากำหนดไว้ เครื่องทั้งสองประเภทนี้จะเหมาะกับคนไข้คนละกลุ่มกัน โดยถ้าเป็นคนไข้โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แพทย์มักจะให้ใช้เป็น fixed BiPAP แต่ถ้าเป็นคนไข้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับรุนแรง แพทย์จะให้ใช้เป็น Auto BiPAP ครับ

    1. แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ครับ โดยแพทย์อาจแนะนำให้ทำ sleep test ก่อนหรือไม่ก็ได้ และหากต้องรับการรักษาด้วยเครื่อง cpap แพทย์จะแนะนำเป็นประเภท เช่น เครื่องแรงดันคงที่ หรือเครื่องที่ปรับแรงดันให้อัตโนมัติ รวมทั้งค่าแรงดันที่ใช้ในการรักษาด้วย ข้อมูลเหล่านี้ทางเจ้าหน้าที่ cpap จะนำมาพิจารณาเลือกรุ่นเครื่องที่เหมาะสมให้อีกทีครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *