การดูแลผู้ป่วยเจาะคอ (Tracheostomy) ที่บ้าน
การดูแลผู้ป่วยเจาะคอที่บ้าน เป็นการดูแลที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการดูแลที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ซึ่งในบทความที่แล้วเราได้กล่าวถึงเทคนิคการเลือกหน้ากากสำหรับเครื่องช่วยหายใจในเบื้องต้นไปแล้ว
ในบทความนี้เราจะมาลงรายละเอียดถึงการดูแลผู้ป่วยเจาะคอที่บ้านรวมถึงการเลือกใช้เครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเจาะคอกันครับ
การเจาะคอ (Tracheostomy) คืออะไร
การเจาะคอ (Tracheostomy) คือ การเปิดท่อทางเดินหายใจส่วนต้น ในคนไข้ที่มีภาวะทางเดินหายใจส่วนบนถูกปิดกั้น จนไม่สามารถใช้จมูกหรือปากในการหายใจได้ แพทย์จึงต้องทำการย้ายตำแหน่งของการหายใจโดยการสร้างทางติดต่อระหว่างหลอดลมกับผิวหนังบริเวณด้านหน้าของลำคอตรงส่วนที่อยู่ใต้กล่องเสียงแทน
เพื่อบรรเทาอาการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจส่วนบนหรือในการดูแลเสมหะและป้องกันการสำลักในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานานหรือผู้ป่วยที่มีเสมหะมากไม่สามารถไอออกเองได้
ผู้ป่วยประเภทไหนบ้างที่ควรได้รับการเจาะคอ
การเจาะคอจะทำในผู้ป่วยที่ประสบภาวะบางอย่างที่อุดกั้นทางเดินหายใจเอาไว้จนคนไข้ไม่สามารถหายใจได้เอง ไม่ว่าจะเป็นแบบเฉียบพลันหรือว่าเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยไม่รู้สติ ผู้ป่วยอัมพาตและผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจนานๆ จนทำให้เกิดพังพืดบริเวณกล่องเสียง
การดูแลผู้ป่วยเจาะคอที่บ้าน
ในช่วงสัปดาห์แรกหลังการเจาะคอ แพทย์จะเป็นผู้ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด คอยตรวจสอบว่ามีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ เนื่องจากเป็นช่วงที่ยังเสี่ยงต่อการที่ท่อจะหลุดได้ง่ายมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นช่วงที่ต้องใส่ใจในเรื่องของความสะอาดเป็นอย่างยิ่ง เมื่อครบ 7 วันหรือ 1 สัปดาห์แล้วคนไข้สามารถกลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านได้
ซึ่งโดยทั่วไปการเจาะคอจะทำเพื่อคนไข้ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในการดำรงชีวิตที่บ้าน เพราะการเจาะคอทำให้สามารถดูแลได้ง่ายกว่า และลดความเสี่ยงจากการเลื่อนหลุดได้มากกว่านั่นเอง
วิธีดูแลผู้ป่วยเจาะคอที่บ้าน
- ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังให้การดูแลผู้ป่วย
- ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดบริเวณข้อต่อต่างๆ
- จัดท่าให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกและหมั่นพลิกตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง
- ดูแลท่อหลอดลมคอให้อยู่กับที่
- ฟังเสียงการทำงานของเครื่องช่วยหายใจ
- หมั่นสังเกตอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ถ้าหากพบอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน ไม่ว่าจะเป็น
- ท่อหลอดลมหลุด สามารถสังเกตได้จาก ผู้ป่วยผู้ออกเสียงได้, ช่วงหายใจออก ไม่เห็นละอองไอน้ำขึ้นมาตามท่อหลอดลมคอ, ผู้ป่วยกระสับกระส่าย เป็นต้น
- ท่อชั้นในหายหรือไม่สามารถใส่ท่อเข้าไปได้
- หายใจลำบาก
- มีอาการหอบเหนื่อย
- มีอาการติดเชื้อ ปวด บวม แดง หรือมีหนองบริเวณที่เจาะคอ
- มีเลือดออกจากท่อหลอดลม
เครื่องช่วยหายใจประเภทไหนที่ใช้กับผู้ป่วยเจาะคอได้
เพราะไม่ใช่เครื่องช่วยหายใจทุกรุ่นที่จะสามารถนำมาใช้งานได้ในผู้ป่วยเจาะคอ ดังนั้นท่านควรได้รับการแนะนำจากแพทย์ หรือสอบถามผู้จำหน่าย สำหรับเครื่องช่วยหายใจ Philips ที่สามารถใช้กับผู้ป่วยเจาะคอได้ ซึ่งเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยเจาะคอที่สามารถใช้ได้ก็คือ เครื่องช่วยหายใจ Philips ตั้งแต่รุ่น BiPAP A40 เป็นต้นไป (คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด)
บอลลูนที่ต่อจากรูที่เจาะ ปกติจะมีลมพองๆ ถ้ามีน้ำเข้าไปจนเกือบเต็มลูกบอลลูน ต้องทำอย่างไรคะ
ผู้ป่วยใช้ bi pap คะ
ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยเลยจะดีที่สุดครับ
คนไข้เจาะคอ ชอบถอดท่อชั้นในออกเปนเวลานานๆ เพราะบอกว่า หายใจได้คล่องกว่า สบายกว่า และไอน้อยกว่า ทำแบบนี้ทอดท่อชั้นในนานๆแบบนี้จะได้มั๊ยคะ และจะมีผลเสียอย่างไรบ้างคะ ช่วยหน่อยคะคนไข้ดื้อมาก
ท่อเจาะคอไม่ควรถอดเข้าถอดออกบ่อยๆ ครับ เพราะอาจเสี่ยงกับการติดเชื้อได้ ลองพยายามอธิบายกับคนไข้ดูนะครับ และยิ่งหากแพทย์ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจด้วยแล้วไม่ควรถอดออกบ่อยๆ แต่ควรเปลี่ยนชุดท่อใหม่หรือนำไปอบฆ่าเชื้อตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำครับ
คือคนไข้เจาะคอ กินอาหารปกติ ล้างทำความสะอาดท่อเช้าเย็น แต่ลมหายใจมีกลิ่น เกิดจากอะไรคะ
อาจเกิดจากกลิ่นของเสมหะที่ค้างในช่องทางเดินหายใจ ลองใช้เครื่องดูดเสมหะให้คนไข้แล้วดูว่ากลิ่นหายหรือไม่นะครับ
ผู้ป่วยติดเตียงเจาะคอชอบไอมีเสหะป่นน้ำลายแบบนี้ปกติไหมค่ะ(ไม่บ่อยเป็นทีนึง1-2วัน)
ถ้าอยากให้ผู้ป่วยสบายที่สุดก็ไม่ควรมีครับ แนะนำให้ดูดเสมหะให้ผู้ป่วยบ่อยขึ้น และถ้าใช้เครื่องช่วยหายใจหรือให้ออกซิเจนด้วยก็ควรใช้กระบอกน้ำทำความชื้นร่วมด้วย เพื่อลดเสมหะหรือทำให้เสมหะนุ่มขึ้นครับ
คนเคยเจาะคอแล้วคอเป็นบุ๋มลึกเข้าไปเป็นรอยสามารถแก้ไขให้กลับมาได้ไหมค่ะ เสียงก็แหบตามไปด้วย
แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย ปกติส่วนใหญ่ก็ปล่อยไว้แบบนั้น แต่ถ้ามีปัญหาอื่นๆ ด้วยแพทย์อาจส่งต่อให้ศัลยแพทย์ช่วยดูให้ครับ