8 ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้เครื่อง CPAP และวิธีแก้ไข

ปัญหาที่พบบ่อยใน CPAP

การใช้เครื่องมือที่เป่าลมเข้าไปในทางเดินหายใจส่วนบน เพื่อทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้นหรือไม่เกิดการอุดกั้นขณะนอนหลับ ที่เรียกว่า เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) นั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรน (snoring) และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) ซึ่งปฏิเสธการรักษาด้วยเครื่องครอบฟัน (Oral appliance) หรือ การผ่าตัด

เครื่องมือนี้เป็นการนำหน้ากากครอบจมูกขณะนอนหลับ ซึ่งหน้ากากนี้จะต่อเข้ากับเครื่องที่สามารถขับลมซึ่งมีแรงดันเป็นบวกออกมา ลมที่ขับออกมาขณะนอนหลับจะช่วยค้ำยัน ไม่ให้ทางเดินหายใจเกิดการอุดกั้นขณะหายใจเข้า

การรักษาด้วยการใช้เครื่อง CPAP นี้เป็นการรักษาอาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับปานกลางถึงรุนแรง (moderate to severe OSA) ที่ดีที่สุด ซึ่งควรพิจารณาลองใช้ในผู้ป่วยทุกราย ก่อนพิจารณาการผ่าตัดเสมอ

8 ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้เครื่อง CPAP และวิธีแก้ไข

ปัญหาวิธีแก้ไข

1. ทนระดับความดันไม่ได้

2. ลมรั่วจากหน้ากาก

  • รัดหน้ากากให้แน่น
  • ลดขนาดหน้ากากให้เหมาะสม
  • เช็คการตั้งค่าแรงดันลมว่าแรงเกินไปหรือไม่
สาเหตุที่ทำให้เกิดลมรั่วจากหน้ากาก

อ่านเพิ่มเติม: การเลือกหน้ากาก CPAP

3. รอยกดทับจากหน้ากาก หรือ ความรู้สึกแน่นจากการใส่หน้ากาก

  • คลายสายหน้ากากไม่ให้แน่นจนเกินไป
  • เลือกหน้ากากที่มีขนาดพอเหมาะ
  • เปลี่ยนขนาด หรือชนิดหน้ากาก
  • งดใช้เครื่องเป็นบางวัน

เลือกดูหน้ากาก CPAP ประเภทต่างๆ ได้ที่นี่

4. อาการคัดแน่นจมูก

  • ใช้น้ำเกลือพ่นจมูกเพื่อให้ความชุ่มชื้นก่อนเริ่มใช้เครื่อง
  • ใช้ CPAP รุ่นที่มีเครื่องปรับอากาศให้อุ่นและชื้น (humidifier) ร่วมด้วย
  • ใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก
  • รับประทานยาต้านฮิสตามีนชนิดไม่ง่วง
  • ในรายที่อาการคัดจมูกไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ หู คอ จมูก

5. การกลัวที่แคบ

  • เปลี่ยนชนิดหน้ากาก เป็นชนิดสอดรูจมูก
  • ลองใส่เครื่องขณะยังตื่น
  • ญาติควรให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย

6. การนอนไม่หลับจากการใช้เครื่อง

  • ลองใส่เครื่องขณะยังตื่น
  • หลีกเลี่ยงกาแฟ และแอลกอฮอล์ในช่วง 8 ชั่วโมงก่อนนอน

7. ปากแห้ง

  • ใช้ CPAP รุ่นที่มีเครื่องปรับอากาศให้อุ่นและชื้น (humidifier) ร่วมด้วย
  • ใช้สายรัดคางร่วมด้วย
  • รับประทานน้ำ 1 แก้วก่อนนอน
  • ควรพยายามหลีกเลี่ยงอากาศเย็น โดยเฉพาะแอร์ พัดลมเป่า ถ้าต้องการเปิดแอร์ ควรตั้งอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้สูงกว่า 25 องศาเซลเซียสเพื่อไม่ให้อากาศเย็นจนเกินไป ในกรณีที่ใช้พัดลมไม่ควรเปิดเบอร์แรงสุด และควรให้พัดลมส่ายไปมา ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมโดยตรง ควรนอนอยู่ห่างจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมพอสมควร หรือไม่ให้อยู่ในทิศทางของลม

8. เครื่องหลุดโดยไม่ตั้งใจขณะหลับ


ที่มา – บทความเรื่อง “ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน (CPAP) รักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และวิธีแก้ไข”

รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
สาขาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

New call-to-action
เปรียบเทียบคุณสมบัติ CPAP รุ่นต่างๆ

24 ความคิดเห็น

    1. รบกวนขอชื่อและเบอร์ติดต่อกลับด้วยครับ เดี๋ยวผมประสานงานให้แผนก Service ติดต่อกลับด่วนเลยครับ ขอบคุณครับ
      แผนกบริการหลังการขาย (Service Center)
      Tel. 091-003-0209
      ทัก LINE
      Email: service@nksleepcare.com

  1. เวลาใช้เครื่อง CPAP ทำไมถึงฝันบ่อยมาก ทั้งฝันดีและไม่ดี ปกติมั้ยครับ

    1. ปกติผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) จะมีวงจรการนอนหลับไม่ครบทุกระดับการนอน (Sleep stage) โดยเฉพาะช่วงหลับลึกและหลับฝันจะไม่มีหรือมีน้อยมาก เมื่อใช้เครื่อง CPAP จะทำให้เรามีการนอนหลับครบทุกระดับการนอน ซึ่งรวมถึงการ REM Stage หรือช่วงนอนหลับฝันด้วย ดังนั้นการฝันบ่อยในช่วงที่ใช้เครื่อง CPAP เป็นเรื่องปกติและเป็นเรื่องที่ดีครับ

  2. ทดลองใช้เครื่องของ รพ.ยี่ห้อ Philip แรงดัน เหมือนรู้สึกไม่เป็นธรรมชาติต้องหายใจตามจังหวะเครื่องและนอนไม่หลับเวลาใช้เครื่อง ปาก คอ แห้ง ปกติมีอาการคัดจมูกเวลานอน เสมอใช้แล้วไม่รู้สึกสบาย อึดอัด

    1. อาการที่เล่ามาสามารถปรับตั้งให้ดีขึ้นได้ครับ แต่อาจต้องให้เจ้าหน้าที่เข้าไปปรับให้เนื่องจากมีหลายสาเหตุ เช่น การตั้งค่าระบบลดแรงต้าน (Flex) ระดับแรงดัน ระดับความชื้น หรือประเภทของหน้ากากที่ใช้ครับ เครื่อง Philips ยังมีอีกหลายฟังก์ชั่นที่มีผลกับการใช้งานซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่ซับซ้อน เช่น OptiStart ฯลฯ

      ยกตัวอย่างสำหรับอาการที่เล่ามานะครับ อาจเกิดจาก การตั้ง Flex ไม่เหมาะสม ไม่ใด้ใช้เครื่องทำความชื้น หรือตั้งค่าความชื้นไม่พอ ใช้หน้ากากแบบครอบจมูกแต่นอนอ้าปาก หรือใช้หน้ากากแบบครอบทั้งปากและจมูกแต่ความชื้นไม่พอ เป็นต้นครับ

  3. ทดลองใช้เครื่องแล้วมีอาการมึนศีรษะในอีกวันหลังการใช้ แก้ไขอย่างไรได้บ้างครับ

    1. อาการนี้อาจพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน แต่ถ้าผู้ใช้งานทั่วไปอาจพบได้ในช่วงของการปรับตัวจากการใช้งานเครื่อง เนื่องจากเครื่องจะอัดแรงดันอากาศที่สูงกว่าปกติเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ บางรายจะมีอาการหลังจากตื่นนอนประมาณ 1-2 ชั่วโมงก็จะหาย และมักจะหายไปหลังจากใช้งานเครื่องไป 2-3 คืน แต่ทั้งนี้หากมีอาการมึนศีรษะต่อเนื่องหลายวัน เช่น 3 วันขึ้นไป หรือมึนศีรษะจะกระทั่งอาเจียน ให้หยุดใช้เครื่องและปรึกษาแพทย์ครับ

  4. ผมใช้เครื่อง CPAP ของ Phillip จากทางบริษัท NK นี่แหละครับ ผมใช้มา 1 ปี 2 เดือน แต่ผมก็ยังมีอาการหลับดี 1 คืน แย่ 2 คืน หมอก็ปรับความดันเพิ่มขึ้น และล่าสุดให้ยาพ่นจมูก แต่ตอนนี้ผมยังไม่ค่อยดีขึ้นเลยครับ ผมควรจะทำอย่างไรดีครับ ไปหาหมอล่าสุดหมอนัดอีกครั้ง 2 เดือน ผมควรจะเปลี่ยนหมอดีเปล่าครับ แนะนำหน่อยครับ คุณภาพชีวิตแย่ลงมากเลยครับ

    1. ผมขอปรึกษาทีมงานก่อนนะครับ เดี๋ยวจะติดต่อกลับไปให้คำแนะนำครับ

    1. ไม่ทราบเป็นเครื่องรุ่นอะไรครับ ถ้าเป็นเครื่องที่ซื้อกับทางเรา รบกวนแจ้งชื่อนามสกุลที่ใช้ซื้อมาทาง LINE @nksleepcare ด้วยครับ ขอบคุณครับ

  5. ถ้ามีเสียงดังโครกครากของน้ำและอากาศ
    ในสายครอบจมูกของเครื่องredmed10ควรต้องแก้ไขด้วยวิธีไหนครับ?

    1. อาการดังกล่าวแสดงว่ามีหยดน้ำในท่ออากาศครับ ไม่ทราบใช้เป็นท่อชนิดไหนครับ ถ้าใช้เป็นท่อแบบควบคุมอุณหภูมิ (ClimateLine Air Tube) จะสามารถปรับตั้งให้ผิวท่อมีความร้อนและไม่ทำให้เกิดหยดน้ำในท่อครับ แต่หากใช้งานเป็นท่อธรรมดาอาจต้องลองลดระดับความร้อนของเครื่องทำความชื้น (Humidifier) ลงทีละนิดจนกว่าปัญหาจะหายไปครับ

  6. ใช้เครื่องมาหลายปีแล้วครับ แต่หลังจากติดโควิด ค่า AHI สูงขึ้น จาก เลขตัวเดียวไม่เกิน 5 ขึ้นเป็น 40 บ้าง 20 บ้าง พร้อมกับทางภรรยาแจ้งว่าตอนผมใช้เครื่อง ผมกรน พร้อมนอนอ้าปากเล็กน้อยครับ และเครื่องยังแนะนำค่าความแรมลม จาก 12-13 เหลือ แค่ 6 บ้าง 7 บ้างครับ ผมต้องแก้ไขยังไงดีครับ

    1. ผมอ่านดูแล้วอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
      1) โควิดทำให้ช่องทางเดินหายใจหรือโพรงจมูกตีบแคบลงกว่าเดิม ทำให้ค่า AHI สูงขึ้น แต่ถ้าเกิดจากเหตุนี้ ถ้าใช้เครื่อง CPAP แบบ Auto แรงดันลมน่าจะสูงขึ้นกว่าเดิม เพราะค่า AHI สูงขึ้น แต่เครื่องของคุณภิญโญกลับแนะนำแรงดันลมที่ลดลง ผมเลยยังไม่กล้าฟันธงว่าเกิดจากสาเหตุนี้
      2) อาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากสมองส่วนกลาง (Central Sleep Apnea, CSA) มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ซึ่งภาวะ CSA นี้เครื่องจะไม่สามารถแก้ไขได้ และทำให้ค่า AHI โดยรวมสูงขึ้น
      3) เครื่องมีความผิดปกติ ทำให้การตอบสนองต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับทำได้ไม่ดีเหมือนก่อน ค่า AHI จึงสูงขึ้น

      เพื่อหาแนวทางการแก้ไข ผมขอทราบข้อมูลดังนี้ครับ
      1) เครื่องที่ใช้เป็นแบบแรงดันคงที่ หรือ Auto ครับ
      2) ระดับแรงดันที่ตั้งไว้ ถ้าเป็นเครื่อง auto ขอทราบค่าทั้ง min และ max pressure ครับ
      3) รุ่นเครื่อง CPAP

      หากได้ข้อมูลดังกล่าวแล้ว ผมจะแนะนำต่อไปครับ

  7. อยู่ระหว่าทดลองเครื่องapex xtคืนแรกใส่ไป2200นถึ0130น.คอแห้งไอมากจนต้องถอดเครื่อง เซลล์​แนะให้ลองอีก2คืนถ้าไม่ดีจะเอารุ่นที่มีไอน้ำมาทดลอง แบบนี้ถูกต้องหรือไม่ เห็นบอกว่าอาการไอเป็นกันได้จริงหรือไม่ครับ

    1. ถ้าใช้ cpap แล้วคอแห้งจนไอ จำเป็นต้องใช้รุ่นที่มีเครื่องทำความชื้น (heated humidifier) ครับ

  8. ใช้เครื่องทดลองที่โรงพยาบาลนำมาให้ใช้ ปัญหาคือเป็นคนชอบอ้าปากขณะนอนหลับ ใช้สายรัดคางแต่รู้สึกรำคาญ และพอนอนตะแคง หน้ากากครอบจมูกก็ชอบหลุด มีวิธีแก้ไขอย่างไรได้บ้างครับ

    1. อาจต้องทดลองใช้เป็นหน้ากากแบบสอดจมูก (Nasal Pillow Mask) อาจช่วยลดเรื่องลมรั่วเวลานอนตะแคงได้ หรืออีกทางที่มักใช้แก้หรือลดการรั่วของแรงดันลมจากการอ้าปาก คือใช้เป็นหน้ากากแบบครอบจมูกและปาก (Full Face Mask) แต่หน้ากากแบบนี้จะอึดอัดมากกว่าหน้ากากทั้งสองแบบที่กล่าวมา และอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น คอแห้งหรือมีลมเข้ากระเพาะทำให้ท้องอืดได้ครับ

  9. ใช้เเล้วมึนหัวครับ มันเป้นอาการปกติไหมครับ ผมใช้มา 3 วันเเล้วครับ

    1. อาจเกิดจากการตั้งค่าแรงดันหรือค่าอื่นๆไม่เหมาะสมได้ รบกวนติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลท่านเพื่อปรึกษาเพิ่มเติมครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *