เด็กนอนกรนจะมีอาการ เช่น ลูกนอนกรนกัดฟัน, ลูกนอนหายใจทางปาก, ลูกหายใจติดขัด เสียงดัง, ลูกหายใจเสียงครืดคราดในคอ หรือ ลูกเหงื่อออกเวลานอน ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อพัฒนาการของลูกน้อยในหลายๆด้าน ดังนั้น พ่อแม่ควรศึกษาปัญหาเด็กนอนกรน สาเหตุ และวิธีแก้ปัญหาเด็กนอนกรนอย่างถูกวิธี อีกทั้งปัญหาการรักษาอาการเด็กนอนกรน สามารถรักษาด้วยเครื่อง CPAP และ เครื่อง BiPAP เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ได้หรือไม่ หาคำตอบทั้งหมดได้จากบทความต่อไปนี้
เด็กนอนกรนเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในทุกประเทศทั่วโลก และมักถูกละเลยโดยผู้ปกครองซึ่งมักคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่มีอันตรายใดๆ ในประเทศไทยมีการทำวิจัยพบว่าเด็กนอนกรนพบได้ราวร้อยละ 10 และในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 1 เป็นเด็กก่อนวัยเรียนและช่วงประถม
เด็กนอนกรน ปัญหาสุขภาพที่ต้องดูแลรักษา
ปัญหาอาการนอนกรนแม้จะพบได้ไม่บ่อย และยังเป็นปัญหาที่พ่อแม่หลายคนมองข้าม เพราะคิดว่าไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่ความจริงแล้วเป็นปัญหาที่อันตรายต่อสุขภาพของเด็กถึงขั้นเสียชีวิตได้ ภาวะนอนกรนจะพบในเด็กที่มีอายุระหว่าง 2 – 6 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้จะมีต่อมทอนซิล และต่อมอะดีนอยด์ ที่ทำให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจจนเกิดเสียงกรนที่เป็นภาวะอันตราย
ปัจจุบันยังพบอีกว่าเด็กที่มีภาวะนอนกรนจากปัญหาทางเดินหายใจถูกกดทับ ที่มีปัญหาของต่อมทอนซิลอุดกั้น หรือทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบมีอันตรายมากขึ้น 10% จากเด็กนอนกรน 20% และในจำนวนนั้นมีเด็กที่สุขภาพดีมากเพียง 2% เท่านั้น ซึ่งอาจเป็นอาการนอนกรนที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ ทำให้ต้องหายใจผ่านทางปาก จึงทำให้เกิดเสียงกรนเล็ก ๆ และเด็กก็จะมีอาการดีขึ้นเองเมื่อตื่นขึ้น ก็จะไม่ส่งผลที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็ก
เด็กนอนกรนอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ในกรณีที่บุตรหลานของท่าน มีอาการนอนกรนดังเป็นประจำ หรือนอนกระสับกระส่าย หายใจลำบาก คัดจมูกเป็นประจำต้องอ้าปากหายใจบ่อย ๆ ปัสสาวะรดที่นอนเป็นประจำ หรือ มีพฤติกรรมซุกซนก้าวร้าว ผลการเรียนแย่ลง เติบโตช้ากว่าวัย ท่านควรพาเด็กไปพบแพทย์
รูปที่ 1 ภาพ ต่อมทอนซิล 2 ข้าง
ปัญหาเด็กนอนกรน สาเหตุเกิดจากอะไร
ปัญหาการนอนกรนในเด็กคล้ายกับการนอนกรนในผู้ใหญ่คือ การสั่นสะเทือนของโครงสร้าง ระบบทางเดินหายใจ เช่น ลิ้นไก่และเพดานอ่อนที่ตีบแคบทำให้เกิดเสียงกรน และปัญหาซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดและพบได้บ่อยสำหรับอาการกรนในเด็ก ได้แก่ การมีต่อมทอนซิล หรือต่อมอะดีนอยด์ ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของจมูกโตผิดปกติ ภาวะจมูกอักเสบเรื้อรังจากภูมิแพ้ เด็กที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน จนทำให้ไขมันบริเวณคอกดทับทางเดินหายใจ และสาเหตุอื่น ๆ เช่น มีความผิดปกติของโครงกระดูกบริเวณใบหน้าโดยกำเนิด ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม รวมไปถึงพันธุกรรมที่พ่อหรือแม่ของเด็ก
ที่พบบ่อยและสำคัญที่สุดในเด็ก คือ การมีต่อมทอนซิล และหรือ ต่อมอะดีนอยด์ ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของจมูกโตกว่าปกติ (มองไม่เห็นทางปาก) นอกจากนี้ ภาวะจมูกอักเสบเรื้อรังจากภูมิแพ้ หรือ ภาวะอ้วน ก็เป็นสาเหตุที่พบบ่อยเช่นกัน ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่อาจพบได้เช่น โครงหน้าผิดปกติ เช่น หน้าแคบ คางสั้นหรือเล็ก ตลอดจนโรคทางพันธุกรรม หรือ โรคทางสมองและกล้ามเนื้อ ที่มีผลต่อการหายใจ เป็นต้น
รูปที่ 2 ภาพของต่อมอะดินอยด์ ซึ่งอยู่ด้านหลังของโพรงจมูก
อันตรายและผลข้างเคียงต่อเด็กนอนกรน
- เด็กที่มีภาวะนอนกรน อาจเป็นสาเหตุสำคัญทำให้มีความผิดปรกติทางพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา
- เสี่ยงต่อการเป็นเด็กสมาธิสั้น เรียนรู้ช้าผลการเรียนแย่ลง
- เด็กที่มีภาวะนอนกรนจากระบบทางเดินหายใจถูกปิดกั้น อาจเติบโตช้า มีพฤติกรรมก้าวร้าวและซุกซนมากผิดปกติ เป็นพฤติกรรมที่แตกต่างจากเด็ก ๆ ทั่วไป
- เด็กที่มีภาวะนอนกรน ทำให้มีปัญหาการหลับในห้องเรียน เพราะนอนหลับไม่สนิทในช่วงกลางคืน ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด และมีปัญหากับเพื่อนร่วมชั้นเรียนเข้ากับเพื่อนๆไม่ได้ เป็นเด็กมีโลกส่วนตัวสูง
- อาการกรนที่รุนแรงอาจทำให้มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เมื่อหยุดหายใจ ออกซิเจนในเลือดก็จะลดลง หากไม่ได้รับการดูแลรักษาและปล่อยให้เด็กมีภาวะนอนกรนในระยะยาว เด็กก็จะมีอาการหัวใจโต และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
- เด็กที่มีภาวะนอนกรนบางคนอาจจะมีอาการปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน หรืออาจปัสสาวะรดที่นอนเป็นประจำ
วิธีการสังเกตความผิดปกติจากภาวะเด็กนอนกรน
- คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ง่ายๆ ในช่วงลูกนอนหลับ เช่น มีเหงื่อออกง่าย และหายใจเหนื่อยหอบตอนหลับ หน้าอกบุ๋ม คอบุ๋ม และท้องโป่ง
- ลุกปัสสาวะรดที่นอนบ่อย ๆ พฤติกรรมเปลี่ยนไปโดยช่วงกลางวันลูกจะมีอาการง่วงนอนเนื่องจากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หงุดหงิดง่าย เป็นเด็กเอาแต่ใจตัวเอง ไม่เชื่อฟังพ่อแม่หรือครู
- นอนกรนเสียงดัง และเสียงกรนดังเฮือก เหมือนคนขาดอากาศหายใจ และมีอาการสะดุ้งตื่นหลังเสียงกรน
- หมั่นสังเกตหากลูกมีอาการนอนกรน ฟังเสียงกรนว่ามีเสียงกรนแบบขาด ๆ หาย ๆ หรือมีการหยุดหายใจไปชั่วขณะหรือไม่
การตรวจวินิจฉัยและแนวทางการดูแลรักษา
หากพบว่าเด็กมีอาการกรนผิดปกติ ควรพาไปพบแพทย์ โดยเด็กที่นอนกรนแพทย์จะทำการวินิจฉัย และตรวจร่างกาย รวมไปถึงตรวจการนอนหลับ(Sleep test)เพื่อตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด ระบบหายใจ รวมถึงคุณภาพการนอนหลับ
การวินิจฉัยที่แม่นยำต้องอาศัยทั้งประวัติ การตรวจร่างกาย ตั้งแต่ บริเวณ ศีรษะ ใบหน้า หู คอ จมูก และช่องปาก การตรวจปอด และหัวใจ หรือระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังนิยมตรวจเพิ่มเติม เช่น การ X-ray บริเวณศีรษะด้านข้างเพื่อดูความกว้างของทางเดินหายใจ และหากทำได้ เด็กที่นอนกรนควรได้รับการ ตรวจการนอนหลับ (sleep test) เพื่อ ตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด ระบบหายใจ รวมถึงคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งสามารถทำในโรงพยาบาล หรือ ที่บ้าน ตามความเหมาะสม
สำหรับแนวทางการดูแลรักษาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก ได้แก่
- ควบคุมเรื่องโภชนาการ หากเด็กมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
- การรักษาด้วยยา เช่น การให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือ ยารักษาอาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือยาแก้อักเสบเพื่อรักษาต่อมทอนซิล ซึ่งเลือกใช้ตามความเหมาะสมในแต่ละราย
- การรักษาด้วยการผ่าตัด ปัจจุบันวิธีที่เป็นมาตรฐาน และได้ผลดีมากที่สุด คือ การผ่าตัดต่อมทอนซิล และ อะดีนอยด์ (Adenotonsillectomy) เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง แต่มีความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่ำ และมีผลต่อภูมิต้านทานหรือ การติดเชื้อภายหลังน้อยมาก อย่างไรก็ตามท่านต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน หู คอ จมูก ที่มีประสบการณ์ในการผ่าตัดผู้ป่วยเด็ก
- ดูแลเรื่องความสะอาดของห้องนอนและเครื่องนอน เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม และของใช้ในห้องนอน เพื่อไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองจมูกและป้องกันเชื้อโรคที่มีกับฝุ่นทำให้เกิดภูมิแพ้ต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ
- หากพบว่าขณะนอนหลับเด็กมีอาการกรนมากขึ้น ให้จับเด็กนอนในท่าตะแคง เพื่อลดอาการกรน
- ดูแลรักษาด้วยอุปกรณ์ช่วยหายใจ อย่างเช่น เครื่อง CPAP หรือกรณีเด็กมีอาการกรนที่รุนแรงก็สามารถใช้เครื่องช่วยหายใจ BiPAP (Bi-level Positive Airwar Pressure) ซึ่งสามารถปรับแรงดันได้ 2 ระดับ ช่วยปรับแรงดันลมให้เหมาะกับอาการกรนของเด็กได้ดี
- พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อป้องกันภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับไม่ให้รุนแรงมากขึ้น และไม่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
บทสรุป
เด็กนอนกรนเป็นอาการที่พบบ่อยมาก และเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย และเป็นได้ตั้งแต่เด็ก แท้จริงแล้ว เสียงกรนเป็นอาการที่บ่งบอกว่า กำลังมีการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งอาจเป็นตั้งแต่ จมูก ช่องลำคอ โคนลิ้น หรือ บางส่วนของกล่องเสียง ซึ่งเกิดการหย่อนตัวลงเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ จนทำให้เมื่อลมหายใจ ผ่านเนื้อเยื่อดังกล่าว เกิดการสั่นสะเทือนและมีเสียงดังขึ้น
นอนกรนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้หลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามี ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก (Pediatric Obstructive Sleep Apnea; OSA) อาจทำให้มีความผิดปรกติทางพัฒนาการ ทั้งทางด้านร่างกาย และสติปัญญา ทำให้เติบโตช้า มีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือ ซุกซนมากผิดปกติ (Hyperactive)
บางรายอาจปัสสาวะรดที่นอน และมีผลการเรียนแย่ลง หรือมีปัญหาสังคมตามมาได้ นอกจากนี้ถ้าเป็นรุนแรงมากอาจ เป็นสาเหตุและความเสี่ยงของ โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ได้อีกด้วย
อ้างอิง – บทความเรื่อง นอนกรนในเด็ก…เมื่อลูกรักอาจหยุดหายใจ
รศ.นพ.วิชญ์ บรรณหิรัญ
American Board of Sleep Medicine, Certified International Sleep Specialist
ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Nk รับติดสลีปเทสในเด็กมั้ยครับ รบกวนติดต่อกลับ 0970424636
ขึ้นอยู่กับอายุและปัจจัยอื่นๆด้วยครับ ยังงัยเดี๋ยวให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปให้รายละเอียดและคำปรึกษาต่างๆ นะครับ