ศูนย์ช่วยเหลือ (Help Center)

[mkb-search title=”” title_size=”2em” theme=”clean” min_width=”45em” top_padding=”1em” bottom_padding=”4em” placeholder=”ค้นหาหัวข้อที่ต้องการ” topics=”” no_focus=”true” show_tip=”false” tip=”” show_topic=”true” results_multiline=”false” topic_label=”หมวดหมู่” title_color=”#333333″ border_color=”#ffffff” bg=”#31686b” image_bg=”” add_gradient=”false” gradient_from=”#00c1b6″ gradient_to=”#136eb5″ gradient_opacity=”1″ add_pattern=”false” pattern=”” pattern_opacity=”1″ tip_color=”#888888″ topic_bg=”#4cad8e” topic_color=”#ffffff” topic_custom_colors=”false” icons_left=”false” show_search_icon=”true” search_icon=”fa-search” clear_icon=”fa-times-circle”]

[mkb-topics title=”” title_size=”3em” view=”box” columns=”3col” topics=”” limit=”-1″ hide_children=”true” articles_limit=”-1″ show_description=”true” show_all=”true” show_all_label=”แสดงทั้งหมด” show_count=”true” topic_color=”#119ea6″ force_topic_color=”true” title_color=”#333333″ box_item_bg=”#ededed” box_item_hover_bg=”#d8d8d8″ count_bg=”#ffffff” count_color=”#000000″ show_topic_icons=”false” topic_icon=”fa-list-alt” force_topic_icon=”false” use_topic_image=”false” image_size=”10em” icon_padding_top=”0″ icon_padding_bottom=”0″ show_article_icons=”true” article_icon=”fa-book”]

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมเบิกค่าเครื่อง CPAP ได้หรือไม่ครับ (อัพเดต มกราคม 2567)

.wp-block-kadence-advancedheading.kt-adv-heading1054_222b3a-97, .wp-block-kadence-advancedheading.kt-adv-heading1054_222b3a-97[data-kb-block="kb-adv-heading1054_222b3a-97"]{margin-bottom:35px;font-weight:500;font-style:normal;font-family:Prompt;color:var(--global-palette1, #3182CE);}.wp-block-kadence-advancedheading.kt-adv-heading1054_222b3a-97 mark.kt-highlight, .wp-block-kadence-advancedheading.kt-adv-heading1054_222b3a-97[data-kb-block="kb-adv-heading1054_222b3a-97"] mark.kt-highlight{font-style:normal;color:#f76a0c;-webkit-box-decoration-break:clone;box-decoration-break:clone;padding-top:0px;padding-right:0px;padding-bottom:0px;padding-left:0px;}

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป โรคหยุดหายใจขณะหลับ เบิกค่า Sleep Test และเครื่อง CPAP ผ่านประกันสังคมได้แล้ว

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ประกาศหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2567 กรณี แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทน สำหรับรักษาผู้ประกันตนที่ป่วยด้วย “โรคหยุดหายใจขณะหลับ” และมีความจำเป็นต้องใช้ เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (Continuous Positive Airway Pressure : CPAP) โดยมีสาระสำคัญดังนี้

  1. ค่าตรวจการนอนหลับ (Polysomnography) ชนิดที่ 1 (มีเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามขณะตรวจทั้งคืน) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 7,000 บาท
  2. ค่าตรวจการนอนหลับ (Polysomnography) ชนิดที่ 2 (การตรวจวัดเหมือนชนิดที่ 1 เว้นแต่ไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามขณะตรวจ) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 6,000 บาท
  3. ค่าอุปกรณ์เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (CPAP) และอุปกรณ์เสริมสำหรับการรักษาในอัตราที่สำนักงานกำหนด ดังนี้
    • เครื่อง CPAP ชุดละ 20,000 บาท
    • หน้ากากครอบจมูกหรือปาก ที่ใช้กับเครื่อง CPAP ชิ้นละ 4,000 บาท
  4. ค่าอุปกรณ์เสริม รายการแผ่นกรองอากาศ (Filter) กระดาษ และแผ่นกรองอากาศ (Filter) ฟองน้ำ ให้รวมอยู่ในค่าบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาล ที่สำนักงานกำหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ประกันตน
  5. กรณีสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ประกันตน ส่งตัวผู้ประกันตนไปรักษายังสถานพยาบาลอื่น โดยผู้ประกันตนได้รับการตรวจวินิจฉัยและอนุมัติเบิกใช้เครื่อง CPAP ให้สถานพยาบาลที่กำหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ประกันตนจ่ายค่าบริการทางการแพทย์พร้อมค่าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้แก่สถานพยาบาลที่ทำการรักษา โดยสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์พร้อมค่าอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคตามหลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการที่สำนักงานกำหนดตามประกาศดังกล่าว

เครื่อง CPAP รุ่น AirSense และ AirStart ต่างกันอย่างไร?

จุดที่เหมือนกัน

  1. เป็นเครื่องประเภทปรับแรงดันอัตโนมัติทั้งคู่ (Auto CPAP)
  2. ขนาดและน้ำหนักเท่ากัน
  3. ให้ค่าแรงดันได้ตั้งแต่ 4-20 CmH2O
  4. มาพร้อมเครื่องทำความชื้นในตัว (Built-in humidifier)
  5. ตรวจจับค่าดัชนีการหยุดหายใจขณะหลับ (AHI) ได้เหมือนกัน

จุดที่แตกต่าง

  1. AirSense มีระบบ Auto Ramp โดยเมื่อเปิดเครื่อง เครื่องจะปล่อยแรงดันลมที่ระดับต่ำๆ ก่อนตามระยะเวลาที่เรากำหนด เช่น 10 นาที เพื่อให้เราเริ่มต้นหลับได้ง่าย และถ้าเครื่องตรวจเจอภาวะหยุดหายใจในช่วงนี้ เครื่องก็จะเพิ่มแรงดันเพื่อรักษาทันที ส่วนใน AirStart เครื่องจะปล่อยแรงดันลมต่ำๆ จนครบระยะเวลาที่เรากำหนดถึงแม้ว่าจะมีภาวะหยุดหายใจเกิดขึ้นก็ตาม
  2. AirSense มาพร้อมกับท่อควบคุมอุณหภูมิ เพื่อป้องกันการเกิดหยดน้ำในท่อ ส่วน AirStart มาพร้อมกับท่อแบบธรรมดา
  3. AirSense มาพร้อมระบบ Cellular ในตัว เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานบน Cloud ให้แบบอัตโนมัติ การดาวน์โหลดผลสามารถทำผ่าน Web browser เช่น Chrome ได้เลย โดยไม่ต้องมีเครื่องอยู่ใกล้ๆ ส่วน AirStart จะเก็บข้อมูลบนในตัวเครื่องอย่างเดียว การดาวน์โหลดผลต้องทำผ่าน SD Card เท่านั้น
  4. AirSense จะตรวจจับภาวะการหายใจที่ผิดปกติขณะหลับได้มากกว่า ได้แก่ AHI, Obstructive Apnea Index, Central Apnea Index, Hypopnea Index และ Cheyne-Stokes Respiratory ส่วน AirStart จะตรวจจับได้เฉพาะค่า AHI เท่านั้น

เครื่อง CPAP แบบอัตโนมัติ (Auto CPAP) ต่างกับเครื่องแบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-auto) อย่างไร

เครื่อง CPAP แบบอัตโนมัติ (Auto-adjusting CPAP, Auto CPAP) จะปรับแรงดันให้เหมาะสมกับอาการของเราโดยอัตโนมัติทุกๆ 1 นาทีตลอดทั้งคืน ส่วนเครื่องแบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-auto CPAP) จะให้แรงดันคงที่ตลอดทั้งคืน แต่จะปรับแรงดันขึ้นลงให้อัตโนมัติทุกๆ 30 ชั่วโมง (หรือประมาณ 5 วัน) โดยแรงดันที่ปรับจะไม่เกิน +/- 3 cmH2O

เครื่อง CPAP รุ่น DreamStation ต่างกับรุ่น Transcend 365 อย่างไร

Philips DreamStation (เครื่องขนาดปกติ – เน้นใช้งานที่บ้าน)

  • มีขนาดและมีน้ำหนักมากกว่า (หนักประมาณ 1 กก.)
  • สามารถตั้งค่าต่างๆ ผ่านทางหน้าจอเครื่องได้โดยตรง
  • ให้แรงลม (Flow) ที่นุ่มนวลกว่า และมีเสียงเงียบกว่า
  • ตรวจจับภาวะความผิดปกติขณะนอนหลับอื่นๆ ที่นอกเหนือจากค่าพื้นฐานได้มากกว่า เช่น periodic breathing เป็นต้น
  • เหมาะสำหรับใช้งานที่บ้านเป็นหลัก
  • เครื่องทำความชื้น (humidifier) มีขนาดใหญ่กว่า ใช้ปริมาณน้ำมากกว่า
  • กรณีใช้งานกับแบตเตอรี่ จะไม่สามารถใช้ร่วมกับเครื่องทำความชื้น (humidifier) ได้

Transcend 365 (เครื่องขนาดเล็ก – เน้นพกพาเดินทาง)

  • มีขนาดเล็กและเบากว่า (หนักประมาณ 360 กรัม)
  • แรงลม (Flow) จะแรงกว่าและมีเสียงดังกว่า
  • ตรวจจับภาวะความผิดปกติขณะนอนหลับแบบพื้นฐานได้ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะหายใจแผ่วเป็นต้น
  • เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางบ่อยๆ เน้นใช้งานนอกสถานที่
  • เครื่องทำความชื้น (humidifier) มีขนาดเล็ก ใช้ปริมาณน้ำน้อยกว่า
  • กรณีใช้งานกับแบตเตอรี่ สามารถใช้ร่วมกับเครื่องทำความชื้น (humidifier) ได้

นอกนั้นมีคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนกัน เช่น มีหน้าจอสี LCD สำหรับแสดงผลการใช้งานและตั้งค่าต่างๆ, มีระบบลดแรงต้านตอนหายใจออก, Ramp time, รองรับตัวทำความชื้นและแบตเตอรี่, สามารถเก็บข้อมูลการใช้งานและพิมพ์เป็นรายงานออกมาได้ ฯลฯ

ควรใช้น้ำประเภทใดเติมเครื่องทำความชื้น (Humidifier) ของเครื่อง CPAP หรือเครื่องผลิตออกซิเจน

ดีที่สุดคือใช้น้ำกลั่นประเภทที่ระบุบนขวดว่า Sterile water for inhalation หรือใช้น้ำดื่มบรรจุขวด หรือน้ำต้มสุก หรือน้ำกรอง ห้ามใช้น้ำประปา

เครื่องอบโอโซน สามารถฆ่าเชื้อโควิดได้ไหมครับ

ก๊าซโอโซน (O3) มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย แต่ในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้

แต่ทั้งนี้ในช่วงที่มีการระบาดของโรค SARS เมื่อปี 2003 มีการใช้โอโซนในการฆ่าเชื้อ SARS-CoV-1 และเนื่องจากไวรัสโควิด-19 นี้อยู่ในตระกูลเดียวกันกับ SARS-CoV-1 ก็มีความเป็นไปได้ว่า โอโซนจะสามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เช่นกัน

หมายเหตุ: แนะนำให้อบโอโซนเฉพาะอุปกรณ์ เช่น ท่ออากาศ และ หน้ากาก ไม่แนะนำให้อบโอโซนเครื่อง CPAP/BiPAP

ในรายละเอียดย่อยของค่า AHI จะมีแบ่งย่อนเป็น 1.Total Clear Airway Apneas และ 2.Total Obstructive Apneas ผมอยากทราบว่าเกณฑ์ที่ดีและปรกติ สัดส่วนตัวเลขระหว่าง 2 ค่านี้ ควรเป็นแบบไหนครับ

สวัสดีครับ ก่อนอื่นผมขออธิบายค่าย่อย 2 ค่านี้ก่อนครับ ซึ่งความแตกต่างนั้นจะอยู่ที่ต้นเหตุของอาการดังนี้ครับ

1) Total Clear Airway Apneas (CA) คือจำนวนครั้งของการหยุดหายใจขณะหลับ “เนื่องจากสมองส่วนกลาง” บางครั้งจึงเรียกภาวะนี้ว่า Central Apneas ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลครับ

2) Total Obstructive Apneas (OA) คือจำนวนครั้งของการหยุดหายใจขณะหลับ “เนื่องจากการอุดกั้นของช่องทางเดินหายใจส่วนต้น”

ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจมีได้ 3 รูปแบบ คือ

1) มีเฉพาะ OA อย่างเดียว
2) มีเฉพาะ CA อย่างเดียว
3) มี OA และ CA ผสมกัน

เครื่อง CPAP จะรักษาเฉพาะในส่วนของ OA ได้เท่านั้น โดย 2 ค่านี้อาจมีค่าหนึ่งมากกว่าอีกค่าหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายในแต่ละคืน แต่ถ้า 2 ค่าย่อยนี้รวมกันแล้วคำนวน AHI ออกมาได้ค่าไม่เกิน 5 ครั้งต่อชั่วโมง ทางการแพทย์ถือว่าการรักษาได้ผลดีแล้วครับ (ค่า AHI น้อยกว่า 5 ไม่มีผลกระทบกับสุขภาพร่างกายของเรา)

สรุปคือไม่ต้องสนใจว่าค่าไหนมากกว่ากัน แต่ขอให้ AHI ไม่เกิน 5 ถือว่าโอเคแล้วครับ

กรณีที่ใช้ CPAP และเครื่องทำความชื้น รุ่น Dreamstation Auto ของ Phillips แล้วมีไอน้ำเยอะมากในหน้ากาก จนต้องตื่นก่อนถึงเวลา จะแก้ไขอย่างไร

วิธีแก้ไขให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

1) ในกรณีใช้ท่อร้อน (Heated tube) ให้เช็คระดับความร้อนของท่อร้อน โดยควรมีระดับสูงกว่าระดับความร้อนของเครื่องทำความชื้น 1-2 ระดับ เช่น ถ้าเราตั้งระดับความร้อนของเครื่องทำความชื้นไว้ที่ 3 ก็ควรตั้งระดับความร้อนของท่อร้อนไว้ที่ 4-5 เป็นต้น ถ้ายังมีไอน้ำเยอะอยู่ หรือใช้เป็นท่อธรรมดา ให้ไปทำข้อ 2 ต่อ

2) ลองลดระดับความร้อนของเครื่องทำความชื้นลง โดยจะมีระดับตั้งแต่ 1-5 ให้ลองลดลงทีละ 1 ระดับ และลองใช้งานดูว่าไอน้ำลดลงหรือไม่ เช่น ถ้าปัจจุบันตั้งค่าไว้ที่ 3 ให้ลดลงเป็น 2

*ดูวิธีการตั้งค่าระดับความร้อนของเครื่องทำความชื้นและท่อร้อนได้ที่นี่ https://www.nksleepcare.com/help/dreamstation-adjust-heat-level/

3) ถ้าทำทั้ง 2 วิธีข้างต้นแล้วยังมีปัญหาไอน้ำเยอะอยู่ อาจเกิดจากการตั้งค่าแรงดันลมที่ต่ำเกินไป ทำให้ระบายลมหายใจออกจากหน้ากากไม่ทันจึงทำให้เกิดไอน้ำ ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดได้น้อยมาก ให้ติดต่อเซลล์ที่ดูแลท่านหรือแผนกบริการหลังการขายที่เบอร์ 02-460-9241 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยเช็คและปรับตั้งค่าแรงดันลมให้

แบตเตอรี่ของเครื่อง BiPAP A40 มีความจุ กี่วัตต์

แบตเตอรี่ของเครื่อง BiPAP A40 มีความจุ 4440 mAh การสิ้นเปลืองค่าพลังงานต่อชั่วโมง 66 Wh และมีค่าแรงดันไฟของแบตเตอรี่ 14.8 V ครับ

Uwish และ Dorma สองรุ่นนี้ราคาไม่แพงมาก แตกต่างกันอย่างไรครับ

ทั้งสองรุ่นเป็นเครื่อง CPAP แบบปรับแรงดันอัตโนมัติ (Auto CPAP) เหมือนกัน ราคารวมหน้ากากแล้ว และรับประกัน 3 ปีทั้งสองรุ่น สิ่งที่แตกต่างกันคือ

  1. Uwish ผลิตในไต้หวัน / Dorma ผลิตในอเมริกา
  2. Dorma ในราคานี้รวมเครื่องทำความชื้น (Humidifier) ด้วย / Uwish ต้องซื้อ humidifier เพิ่มถ้าต้องการ
  3. Uwish มีระบบลดแรงต้านในขณะหายใจออก 3 ระดับ / Dorma มี 1 ระดับ

นอกจากนั้นฟังก์ชั่นหลักๆ ก็คล้ายกัน เสียงเครื่องเงียบเท่าๆ กันครับ

เวลาใช้เครื่อง CPAP ทำไมถึงฝันบ่อยมาก ทั้งฝันดีและไม่ดี ปกติมั้ยครับ

ปกติผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) จะมีวงจรการนอนหลับไม่ครบทุกระดับการนอน (Sleep stage) โดยเฉพาะช่วงหลับลึกและหลับฝันจะไม่มีหรือมีน้อยมาก เมื่อใช้เครื่อง CPAP จะทำให้เรามีการนอนหลับครบทุกระดับการนอน ซึ่งรวมถึงการ REM Stage หรือช่วงนอนหลับฝันด้วย ดังนั้นการฝันบ่อยในช่วงที่ใช้เครื่อง CPAP เป็นเรื่องปกติและเป็นเรื่องที่ดีครับ

เครื่องผลิตออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจต่างกันอย่างไร

เครื่องผลิตออกซิเจนจะเพิ่มปริมาณออกซิเจนในปอด สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาถุงลมไม่สามารถฟอกเอาออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอ เช่นผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง จึงต้องให้อากาศที่มีเปอร์เซนต์ของออกซิเจนที่เข้มข้นมากกว่าอากาศปกติ คือ 90% ขึ้นไป
ส่วนเครื่องช่วยหายใจจะใช้กับผู้ป่วยที่ปอดไม่สามารถนำเอาอากาศเข้าสู่ปอดได้ในปริมาตรที่ร่างกายต้องการ เช่น ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อปอดอ่อนแรง เครื่องจะช่วยสร้างแรงดันอากาศเพิ่มให้ปอดเพื่อให้ปอดมีปริมาตรมากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจนก็ได้ เพราะปอดสามารถฟอกเอาออกซิเจนได้ปกติไม่มีปัญหาอะไร
แต่บางท่านอาจเจอทั้งสองปัญหา คือปอดก็ไม่แข็งแรงก็ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อให้ได้อากาศในปริมาณที่เหมาะสม และปอดเองก็ไม่สามารถฟอกเอาออกซิเจนได้เพียงพอ ผู้ป่วยประเภทนี้แพทย์ก็จะให้ใช้ทั้งเครื่องผลิตออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจครับ

เครื่อง CPAP Philips รุ่น DreamStation Auto กับ DreamStation Go Auto ต่างกันอย่างไร

ทั้ง 2 รุ่นเป็นเครื่อง CPAP ประเภทปรับแรงดันอัตโนมัติทั้งคู่ เรื่องฟังก์ชั่นการทำงานเหมือนกันทุกอย่าง แต่รุ่น DreamStation Go จะพัฒนาสำหรับคนที่เน้นการพกพาเดินทาง จุดที่แตกต่างกันมีดังนี้

– DreamStation Go จะมีแบตเตอรี่แบบ Integrated หมายถึงสามารถประกบติดกับตัวเครื่องเลย ส่วน DreamStation รุ่นปกติ จะมีแต่แบตเตอรี่แยก การใช้งานต้องต่อสายหากัน

– DreamStation Go มีหน้าจอแบบสัมผัส ส่วน DreamStation รุ่นปกติ จะเป็นแบบปุ่มกดและปุ่มหมุน

– สามารถใช้งานร่วมกับตัวทำความชื้น (Humidifier) ได้ทั้ง 2 รุ่น แต่ DreamStation Go ตัวทำความชื้นสินค้าจะเข้าเดือน พ.ค.

– DreamStation รุ่นปกติ ใช้ท่อขนาด 15 มม. เป็นแบบควบคุมอุณหภูมิได้ (Heated tube) ส่วน DreamStation Go ใช้ท่ออากาศขนาด 12 มม. ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้

อยากทราบว่าตัวทำความชื้น กับ ท่อควบคุมอุณหภูมิ มีไว้ทำอะไรเหรอครับ

เครื่องทำความชื้นจะเพิ่มความชื้นในลมที่เครื่องปล่อยออกมา มาพร้อมกระบอกน้ำ มีถาดให้ความร้อนเพื่ออุ่นน้ำ เนื่องจากลมที่ปล่อยมาจะแรงกว่าที่เราหายใจปกติ จึงอาจทำให้จมูกหรือคอแห้งได้ค่ะ ส่วนท่อควบคุมอุณหภูมิ หรือท่อร้อน (heated tube) จะเป็นท่อแบบพิเศษที่มีระบบให้ความร้อนที่รอบๆ ตัวท่อ ทำให้ไม่เกิดหยดน้ำจากการควบแน่นค้างในท่อ ถ้าใข้ท่อแบบธรรมดามักเกิดหยดน้ำปริมาณมาก และไหลเข้าหน้ากากและเข้าจมูกของเราได้ค่ะ ถ้าใช้เครื่อง CPAP และใช้ตัวทำความชื้นและท่อร้อนครบชุดแบบนี้ ผู้ใข้จะเกิดความสบายมากที่สุดค่ะ

เครื่อง CPAP กับเครื่องผลิตออกซิเจน ต่างกันอย่างไร?

เครื่อง CPAP จะดูดอากาศในห้องแล้วสร้างแรงดันอากาศให้สูงขึ้น เพื่อไปถ่างช่องทางเดินหายใจของเราให้กว้างขึ้น เพื่อรักษาอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเกิดจากการที่ช่องทางเดินหายใจของเราตีบแคบลงขณะหลับ (อ่านเพิ่มเติมจากบทความ CPAP คืออะไร)

ส่วนเครื่องผลิตออกซิเจน จะดูดอากาศในห้องมากรองเอาส่วนที่เป็นออกซิเจนเข้มข้นให้แก่เรา โดยไม่ได้สร้างแรงดันอากาศให้สูงขึ้นแต่อย่างใด ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ขาดออกซิเจน หรือปอดไม่สามารถดูดซับเอาออกซิเจนจากอากาศปกติได้มากพอ

ดังนั้นเครื่อง CPAP และเครื่องผลิตออกซิเจน ทำหน้าที่ต่างกัน ใช้รักษาอาการหรือโรคต่างกัน สรุปคือ ผู้ที่มีอาการนอนกรนหรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ต้องใช้เครื่อง CPAP ส่วนผู้ที่มีโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ถุงลมโป่งพอง ภาวะปอดอุดกั้นเรื่อรัง ฯลฯ ต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจน บางคนอาจมีภาวะสองอย่างเลย เช่น มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับและเป็นโรคปอดด้วย แพทย์ก็อาจสั่งให้ใช้เครื่องทั้งสองอย่างเลยค่ะ

เครื่อง CPAP Philips รุ่น Dorma 500 กับ DreamStation Pro ต่างกันอย่างไร

Dorma 500 เป็นเครื่อง CPAP ชนิดปรับแรงดันอัตโนมัติรุ่นประหยัด โดยมีฟังก์ชั่นพื้นฐานที่จำเป็นครบถ้วน เช่น ฟังก์ชั่นลดแรงดันตอนเริ่มต้นนอน (ramp) หรือฟังก์ชั่นลดแรงต้านในขณะหายใจออก (flex) เป็นต้น ในชุดมาพร้อมกับเครื่องทำความชื้น (humidifier) แต่ไม่มีท่อร้อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหยดน้ำในท่อ

ส่วน DreamStation Pro เป็นเครื่อง CPAP ชนิดกึ่งอัตโนมัติ คือเครื่องจะให้แรงดันคงที่ตลอดทั้งคืน แต่จะปรับแรงดันขึ้น-ลงได้อัตโนมัติทุกๆ 30 ชั่วโมง (หรือประมาณ 5 วัน) โดยแรงดันที่ปรับจะไม่เกิน +/- 3 cmH2O

DreamStation Pro เป็นรุ่นใหม่กว่า และจะมีฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ มากกว่าตัว Dorma โดยจะมีฟังก์ชั่นครบเหมือนตัว DreamStation Auto ซึ่งเป็นรุ่นที่ปรับแรงดันอัตโนมัติตลอดทั้งคืน

ดาวน์โหลด ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติเครื่อง CPAP

จากข้อมูลที่ได้หาในเบื้องต้นพบว่าค่าตรวจการนอนหลับที่บ้านอยู่ที่ 8,900 บาท ถ้ามาตรวจที่บ้านที่ศาลายา ไม่ทราบว่าคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มหรือไม่ สามารถใช้บัตรเครดิตหรือผ่อนจ่ายได้หรือไม่คะ ธนาคารอะไรบ้าง

ค่าบริการตรวจเเบบละเอียดราคา 8,900 สามารถจ่ายเงินโดยการรูดบัตรเครดิตได้( รับบัตรเครดิตทุกธนาคารค่ะ) เเต่ไม่สามารถผ่อนจ่ายได้ค่ะ  ในกรณีที่บ้านลูกค้าอยู่ศาลายาสามารถไปตรวจให้ได้ค่ะไม่มีค่าบริการเพิ่มค่ะ หากมีข้อสงสัยประการใดเพิ่มเติมสามารถติดต่อ Call Center ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-460-9241 ขอบคุณค่ะ

กระบวนการรวมแพทย์วินิจฉัย จนถึงขั้นตอนการตัดสินใจเรื่องการรักษา ใช้ระยะเวลาทั้งหมดกี่วันคะ

ในกรณีที่ตรวจการนอนหลับที่บ้านเเบบละเอียด ระยะเวลาตั้งเเต่การตรวจจนถึงการวินิจฉัยของเเพทย์จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ค่ะ  แต่หลังจากตรวจเสร็จ ระหว่างนั้นเรามีบริการทดลองใช้เครื่อง CPAP ฟรี 7 วัน สามารถใช้ผลจากการทดลองใช้เครื่อง CPAP ประกอบกับคำวินิจฉัยเเพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาต่อไปได้ค่ะ ซึ่งทางเรามีบริการฟังผลกับเเพทย์ผู้เชียวชาญฟรีค่ะ ( หากมีค่ายาหรือค่ารักษาอื่น ลูกค้าจะต้องจ่ายเงินเองนะคะ)

การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) สามารถนัดพบจนท.ในวัน ส – อา ได้หรือไม่

เจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับสะดวกตรวจทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์เลยค่ะ ตามที่ลูกค้าสะดวกเลย แต่ต้องจองคิวล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 1 วัน เพื่อจัดตารางงานของจนท. ค่ะ

เราจะทราบได้อย่างไรว่าควรตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) แบบไหน ต้องพบแพทย์ก่อนหรือไม่ เนื่องจากคิวนัดตามประกันสังคมของรพ.รามา ได้คิว มค. 2562 ค่ะ รอไม่ไหว เพราะได้รับผลกระทบในชีวิตประจำวันเยอะค่ะ 

การตรวจการนอนหลับเเบบละเอียดที่บ้าน สามารถตรวจได้เลยค่ะไม่ต้องพบเเพทย์ก่อน การตรวจการนอนหลับเเบบละเอียด สามารถการตรวจจับอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea, OSA) มีการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ทำให้สามารถวัดประสิทธิภาพการนอน  ว่าหลับลึก หลับตื้น หรือหลับฝันได้ มีความละเอียด มีประสิทธิภาพเเละความแม่นยำใกล้เคียงกับการตรวจในโรงพยาบาลค่ะ

อยากทราบขั้นตอนการติดต่อซื้อเครื่อง CPAP ผ่านโรงพยาบาลรามา

ขั้นตอนการติดต่อซื้อเครื่อง CPAP ผ่านโรงพยาบาลรามาธิบดี

  1. ผู้ป่วยที่ตัดสินใจซื้อเครื่อง CPAP ผ่านรพ.ให้นำเอกสารใบสั่งซื้อเครื่อง+ใบรับรองแพทย์ (ในกรณีที่เบิกได้ เช่น สิทธิ์ ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น สามารถเบิกได้จำนวน 20,000 บาท ตามสิทธิ์กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง) มาติดต่อที่ศูนย์โรคการนอนหลับ ชั้น 7
  2. เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯจะสอบถามรายละเอียดเรื่องเครื่องที่ต้องการซื้อ เช่น ชื่อบริษัท รุ่น ราคา และตรวจสอบเอกสารพร้อมทั้งแนะนำการชำระเงินและนัดรับเครื่องภายใน 2 วันหลังจากวันที่ทำการซื้อ
  3. ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ต่างจังหวัด หรือ ต้องการชำระเงินพร้อมกับรับเครื่อง CPAP กลับไปด้วย ผู้ป่วยกรุณาโทรแจ้งกับตัวแทนบริษัทโดยแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องที่ต้องการและแจ้งวันที่จะเข้ามาติดต่อซื้อเครื่อง CPAP เพื่อให้บริษัทนำเครื่องมาส่งให้ก่อน และโทรแจ้งทางศูนย์ฯเพื่อทำการนัดวันที่จะมาทำการซื้อ+รับเครื่องCPAP
  4. ผู้ป่วยสามารถมาติดต่อซื้อและรับเครื่อง CPAP ได้ในวันและเวลาราชการ ตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 18.00 น.หรือโทร. 02-200-3768 กด0 และ 02-200-3762 กด 0

ดูรายละเอียดจากเว็บไซต์ของ รพ.รามาฯ โดยตรงที่นี่

อยากทราบขั้นตอนการนัดตรวจการนอนหลับที่ รพ.รามาครับ

ขั้นตอนการติดต่อนัดตรวจการนอนหลับกับ รพ.รามาฯ มีดังนี้

1. นัดพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการ ก่อนส่งนัดตรวจการนอนหลับ
1.1 สามารถนัดพบแพทย์ได้ ตามคลินิกต่างๆ ดังนี้     – คลินิกอายุรกรรม ขั้น 1 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-3998, 02-200-4022
– คลินิกหู คอ จมูก ชั้น 2 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-4069-70
– คลินิกอาจารย์แพทย์อายุรกรรม ชั้น 4 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-3508-9
– คลินิกอาจารย์แพทย์โสต ศอ นาสิก ชั้น 4 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-4249-50
**ค่าบริการตรวจการนอนหลับ จะคิดจากคลินิกที่ผู้ป่วยนัดพบกับแพทย์**
2. ในวันที่มาพบแพทย์ กรุณานำเงินสด เพื่อวางมัดจำค่าตรวจการนอนหลับ 3,000 บาท ที่การเงินก่อนมาติดต่อที่ศูนย์โรคการนอนหลับ
3. นำเอกสารใบคำสั่งตรวจของแพทย์ พร้อมใบเสร็จมัดจำ 3,000 บาท มาติดต่อทำการนัดตรวจที่ศูนย์โรคการนอนหลับ ชั้น 7 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์โรคการนอนหลับ จะทำการนัดวันตรวจการนอนหลับ พร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนมาทำการตรวจ  และออกบัตรนัดฟังเพื่อผลกับแพทย์

( คลินิกหู คอ จมูก ศูนย์ฯไม่สามารถออกบัตรนัดฟังผลให้ได้ต้องให้เจ้าหน้าที่ของแผนกหู คอ จมูก เป็นผู้ทำการนัด เท่านั้น )

ดูรายละเอียดจากเว็บไซต์ของ รพ.รามาฯ โดยตรงที่นี่

ค่าทำ sleep test เบิกได้ไหมครับ

ถ้าเป็นข้าราชการสามารถเบิกค่าตรวจ sleep test ได้ครับ โดยจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐบาลเท่านั้น

มีวิธีแก้การนอนอ้าปากไหมครับ

วิธีแก้การนอนอ้าปาก โดยหลักๆ ผมจะแนะนําให้ใช้สายรัดคาง (Chin strap) ร่วมกับการใช้หน้ากาก CPAP แบบครอบจมูก หรืออีกทางหนึ่งคือเปลี่ยนจากหน้ากากครอบจมูก มาใช้เป็นหน้ากากแบบครอบทั้งปากและจมูก (Full Face mask) ครับ

เป็นคนนอนอ้าปาก หลังจากใช้งานเวลาตื่นนอนจะมีอาการปวดหัว ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรครับ

คนนอนอ้าปาก หรือ นอนหายใจทางปาก เวลาใช้เครื่อง CPAP มักจะทําให้มีแรงดันลมรั่วออกมาทางปากได้ ทำให้แรงดันตกลงและไม่เพียงพอในการรักษาอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับในช่วงเวลานั้นๆ ได้ นอกจากนี้เมื่อเกิดลมรั่วเครื่องส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชั่นชดเชยแรงดัน เครื่องก็จะพ่นลมแรงขึ้นเพื่อชดเชยแรงดันที่เสียไปโดยอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้ได้รับแรงดันลมสูงกว่าปกติ ซึ่งแรงดันลมที่สูงขึ้นนี้อาจทําให้มีอาการปวดศีรษะได้ครับ ผมแนะนําให้ใช้สายรัดคาง (Chin strap) ร่วมกับหน้ากาก หรือเปลี่ยนเป็นหน้ากากแบบครอบทั้งปากและจมูก (Full Face mask) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนอนอ้าปาก หรือนอนหายใจทางปากครับ

อยากทราบว่าทางภาคอิสานหรือที่ร้อยเอ็ดมีศูนย์หรือตัวแทนอยู่บ้างหรือไม่ครับ

ตอนนี้ยังไม่มีตัวแทนที่ภาคอิสานครับ รบกวนติดต่อสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพ ทางเราสามารถส่งไปให้ได้ทั่วประเทศครับ กรุณาติดต่อบริษัทที่เบอร์ 02-462-6441-2 ในเวลาทำการครับ

สอบถามถึงระบบการปรับระดับแรงดันของ RESMART AUTO CPAP ถ้าสมมุติว่า นอนช่วงแรก (ยังไม่หลับ)แรงดันอยู่ที่ 5 cmH2o พอเริ่มเคลิ้มหลับและไม่รู้สึกตัว แรงดันจะมีการปรับตามสภาวะการหายใจของผู้ป่วยในขณะนั้นใช่ไหมคะ แต่พอเกิดหยุดหายใจแรงดันจะเพิ่มสูงขึ้นเช่นที่ 12 cmH20 เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้หายใจได้ แล้วหลังจากนั้นล่ะคะ พอผู้ป่วยเกิดการหายใจแล้วและหายใจเป็นจังหวะปกติ เครื่องจะทำการลดแรงดันลงทันทีเลยหรือเปล่าคะ

โดยปกติเครื่อง Auto CPAP จะปรับแรงดันสูงขึ้นค่อนข้างเร็วเมื่อ detect เจอภาวะหยุดหายใจ แต่เมื่อผู้ใช้กลับมาหายใจเป็นปกติแล้วเครื่องจะไม่ลดแรงดันลมทันที แต่จะคอยดูให้แน่ใจว่าผู้ใช้หายใจเป็นปกติแล้วแน่นอนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จึงค่อยๆปรับแรงดันลม ทั้งนี้เพือไม่ให้แรงดันมีการขั้นๆลงๆแบบหวือหวานัก ในเครือง RESmart Auto มีความพิเศษคือสามารถปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานแต่ละคนได้ละเอียดมากกว่า คือ

1) สามารถตั้งค่าแรงดันได้ 3 ระดับ ยกตัวอย่างเช่น ตั้งค่าแรงดันเริ่มต้นที่ 4 ค่าแรงดันสูงสุดที่ 12 และค่าแรงดันรักษา (Treatment Pressure) ที่ 8 cmH2O เป็นต้น เครื่องจะวิ่งอยู่ที่แรงดันระหว่าง 4-8 เป็นหลัก จะวิ่งเกิน 8 ต่อเมื่อจำเป็นจริงๆเท่านั้น และเมื่อแรงดันวิ่งอยู่ระหว่าง 8-12 จะอยู่ไม่นานเมื่อผู้ใช้หายใจเป็นปกติก็จะลดแรงดันลงอย่างรวดเร็ว มากกว่าตอนที่แรงดันอยู่ระหว่าง 4-8

2) สามารถตั้งความไวในการ detect ภาวะหยุดหายใจได้ (Sensitivity) ถ้าเราตั้งความไวให้มากขึ้น แรงดันก็จะตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของการหายใจเราเร็วขึ้น

ความสามารถทั้ง 2 ข้อนี้น่าจะแก้ปัญหาที่ถามมาได้นะครับ ยังงัยก็แนะนำให้ทดลองใช้ดูก่อน เวลาลงทะเบียนให้ระบุด้วยว่าต้องการตั้ง Treatment Pressure ต่ำๆ (ไม่เกิน 8 cmH2O) และเซ็ต Sensitivity ที่ระดับ 5 (สูงสุด) นะครับ

สายรัดศีรษะมีแยกขายหรือเปล่าครับ

มีครับ รายละเอียดตามลิ๊งค์นี้ครับ https://www.nksleepcare.com/product/cpap-headgear/

รักษาที่ รพ.รามา อยากทดลองและซื้อเครื่องโดยใช้สิทธิ์เบิกราชการ ไม่ทราบต้องทำอย่างไรครับ

ข้าราชการที่ต้องการใช้สิทธิ์เบิกจ่ายตรง จะต้องพบแพทย์และผ่านการตรวจการนอนหลับจากทาง รพ. ก่อนเท่านั้นครับ
ติดต่อขอทดลองเครื่องได้ที่ ศูนย์โรคการนอนหลับ ชั้น 7 ward 1 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-3768

ข้อมูลเพิ่มเติม:

สำหรับข้าราชการ/ข้าราชการบำนาญ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และบุคคลเกี่ยวข้องที่มีสิทธิ์ เช่น บิดา มารดา คู่สมรส (บุตร-ธิดา ที่อายุไม่เกิน 20 ปี) สามารถใช้สิทธิ์ได้ดังนี้

  • สามารถเบิกค่าตรวจวิเคราะห์การนอนหลับ (Sleep Test) ได้ตามสิทธิ (7,000 บาท)
  • สามารถเบิกค่าเครื่องรักษา (CPAP) ได้ตามสิทธิ์ (20,000 บาท) กรณีเครื่องเสียซ่อมไม่ได้ สามารถให้เปลี่ยนได้ทุกๆ 5 ปี
  • สามารถเบิกค่าหน้ากากชนิดครอบจมูกหรือปากที่่ใช้กับเครื่อง CPAP ได้ (4,000 บาท) ปีละ 1 ชุด

ขั้นตอนการติดต่อนัดตรวจการนอนหลับกับ รพ.รามาฯ มีดังนี้

1. นัดพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการ ก่อนส่งนัดตรวจการนอนหลับ
1.1 สามารถนัดพบแพทย์ได้ ตามคลินิกต่างๆ ดังนี้     – คลินิกอายุรกรรม ขั้น 1 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-3998, 02-200-4022
– คลินิกหู คอ จมูก ชั้น 2 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-4069-70
– คลินิกอาจารย์แพทย์อายุรกรรม ชั้น 4 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-3508-9
– คลินิกอาจารย์แพทย์โสต ศอ นาสิก ชั้น 4 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-4249-50
**ค่าบริการตรวจการนอนหลับ จะคิดจากคลินิกที่ผู้ป่วยนัดพบกับแพทย์**

2. ในวันที่มาพบแพทย์ กรุณานำเงินสด เพื่อวางมัดจำค่าตรวจการนอนหลับ 3,000 บาท ที่การเงินก่อนมาติดต่อที่ศูนย์โรคการนอนหลับ

3. นำเอกสารใบคำสั่งตรวจของแพทย์ พร้อมใบเสร็จมัดจำ 3,000 บาท มาติดต่อทำการนัดตรวจที่ศูนย์โรคการนอนหลับ ชั้น 7 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์

4. เจ้าหน้าที่ศูนย์โรคการนอนหลับ จะทำการนัดวันตรวจการนอนหลับ พร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนมาทำการตรวจ  และออกบัตรนัดฟังเพื่อผลกับแพทย์

( คลินิกหู คอ จมูก ศูนย์ฯไม่สามารถออกบัตรนัดฟังผลให้ได้ต้องให้เจ้าหน้าที่ของแผนกหู คอ จมูก เป็นผู้ทำการนัด เท่านั้น )

ขั้นตอนการติดต่อซื้อเครื่อง CPAP ผ่านโรงพยาบาลรามาธิบดี

  1. ผู้ป่วยที่ตัดสินใจซื้อเครื่อง CPAP ผ่านรพ.ให้นำเอกสารใบสั่งซื้อเครื่อง+ใบรับรองแพทย์ (ในกรณีที่เบิกได้ เช่น สิทธิ์ ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น สามารถเบิกได้จำนวน 20,000 บาท ตามสิทธิ์กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง) มาติดต่อที่ศูนย์โรคการนอนหลับ ชั้น 7
  2. เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯจะสอบถามรายละเอียดเรื่องเครื่องที่ต้องการซื้อ เช่น ชื่อบริษัท รุ่น ราคา และตรวจสอบเอกสารพร้อมทั้งแนะนำการชำระเงินและนัดรับเครื่องภายใน 2 วันหลังจากวันที่ทำการซื้อ
  3. ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ต่างจังหวัด หรือ ต้องการชำระเงินพร้อมกับรับเครื่อง CPAP กลับไปด้วย ผู้ป่วยกรุณาโทรแจ้งกับตัวแทนบริษัทโดยแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องที่ต้องการและแจ้งวันที่จะเข้ามาติดต่อซื้อเครื่อง CPAP เพื่อให้บริษัทนำเครื่องมาส่งให้ก่อน และโทรแจ้งทางศูนย์ฯเพื่อทำการนัดวันที่จะมาทำการซื้อ+รับเครื่องCPAP
  4. ผู้ป่วยสามารถมาติดต่อซื้อและรับเครื่อง CPAP ได้ในวันและเวลาราชการ ตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 18.00 น.หรือโทร. 02-200-3768 กด0 และ 02-200-3762 กด 0

ฟันยางเบิกได้หรือเปล่าคะ

ฟันยางเบิกไม่ได้นะครับ

อยากทราบว่าถ้าเราใช้เครื่อง CPAP แล้วเนี่ยเราต้องใช้ตลอดไปเลยเหรอคะ

การใช้ CPAP ต้องใช้ไปเรื่อยๆจนกว่าอาการจะดีขึ้น ซึ่งอาการจะดีขึ้นได้ก็ต้องอาศัยการดูแลตัวเองเช่นออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ เป็นต้น มีคนไข้บางรายที่ลดน้ำหนักและออกกำลังกายจนสามารถหยุดใช้เครื่องได้ แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้ไปตลอดครับ

ถ้าต้องการยืมเครื่องมาเทสต้องติดต่อที่ไหนครับ

สามารถลงทะเบียนเพื่อขอทดลองเครื่องได้ตามลิงค์นี้ค่ะ -> ลงทะเบียนทดลองเครื่อง

เครื่อง cpap มีการระบายก๊าซ Co2 ออกยังไงคะ

โดยปกติในการใช้งานเครื่อง CPAP สำหรับคนไข้ที่ใช้ที่หน้ากาก ที่ตัวของหน้ากากจะมีรูระบายอากาศสำหรับระบายก๊าซ CO2 อยู่ครับ ทำให้ก๊าซ CO2 จากการหายใจออกของคนไข้สามารถระบายออกได้ตามปกติครับ

เครื่อง cpap จะทำให้ Co2 คั่งหรือไม่คะ ถ้าผู้ป่วยเคยมีประวัติ Co2 คั่งมาก่อน

ผู้ป่วยที่มีภาวะ CO2 คั่งบางกลุ่ม สามารถใช้เครื่อง CPAP ได้ครับ ต้องดูจากสาเหตุที่ทำให้เกิด CO2 คั่งประกอบด้วย ยังไงรบกวนปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาท่านดีกว่าครับ ว่าคนไข้สามารถใช้เครื่อง CPAP ได้ไหม

รูดบัตรกสิกร 0% 6 เดือนจะต้องทำอย่างไรครับ

ทางเรามีเครื่องรูดไปให้ครับ

อยากทราบว่า Titrate Mode กับ Auto Mode ในเครื่อง RESmart ต่างกันอย่างไรคะ

สวัสดีครับ ทั้ง 2 โหมดทำงานแบบปรับแรงดันอัตโนมัติทั้งคู่ แต่แตกต่างกันที่ช่วงของแรงดันเท่านั้น โดย Titrate Mode จะให้ช่วงแรงดันที่กว้างกว่าแบบ Auto Mode

ตัวอย่างเช่น ใน Titrate mode ตั้งค่า Init P = 5, Treat P = 8, Max P = 12, ramp = 10 นาที –> ค่าแรงดันจะเริ่มต้นที่ 5 cmH2O เป็นเวลา 10 นาที และจะวิ่งอัตโนมัติอยู่ในช่วงระหว่าง 5-12 cmH2O ตลอดทั้งคืน (สามารถลดลงได้ต่ำสุดถึง 5 cmH2O) โดยจะเน้นอยู่ที่ค่ารักษา (Treat P 8 cmH2O) เป็นส่วนใหญ่

ส่วนถ้าเป็น Auto mode ตั้งค่า Init P = 5, Treat P = 8, Max P = 12, ramp = 10 นาที –> ค่าแรงดันจะเริ่มต้นที่ 5 cmH2O เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นจะวิ่งอัตโนมัติอยู่ในช่วงระหว่าง 8-12 cmH2O ตลอดทั้งคืน จะเห็นว่าในโหมดนี้ค่าแรงดันจะลงมาได้ต่ำสุดที่ 8 cmH2O เท่านั้น ในขณะที่ในโหมด Titrate สามารถลดลงได้ต่ำสุดถึง 5 cmH2O

แนะนำให้ตั้งเป็น Titrate mode ครับ จะทำให้นอนได้สบายกว่า เนื่องจากในโหมดนี้แรงดันลมจะสามารถลดลงมาได้ต่ำมากกว่าในโหมดอื่นๆ

ส่วนค่า AHI และ SNI ที่แสดงที่เครื่องเป็นค่าต่อชั่วโมงครับ ค่าทั้งคู่ไม่ควรเกิน 5 ครั้งต่อชั่วโมงครับ

อยากทราบวิธีการอ่านรายงานผลที่ดาวน์โหลดจากเครื่อง RESmart ครับ

ในกราฟแสดงรายละเอียดแต่ละวัน กราฟแรกจะเป็นค่าแรงดันในแต่ละนาที ซึ่งอันนี้ถ้าเป็นเครื่อง Manual ก็จะโชว์ค่าแรงดันที่ตั้งไว้ แต่ถ้าเป็นเครื่อง Auto ก็จะโชว์แรงดันที่เครื่องเปลี่ยนให้โดยอัตโนมัติ

กราฟที่สองโชว์ระดับการนอนกรน ในที่นี้เครื่องจะตรวจจับจากการสั่นสะเทือนของลมหายใจของเรา ซึ่งถ้าใช้เครื่อง CPAP อยู่เราจะไม่ได้ยินเป็นเสียงกรนออกมาแต่อาจมีการสั่นสะเทือนของลมหายใจได้ นับเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่นหายใจ 10 ครั้ง มีการกรน 1 ครั้ง ก็นับเป็น 10% เป็นต้น การกรนนี้ไม่ซีเรียสเท่ากับการหยุดหายใจ อย่างไรก็ดีก็ไม่ควรเกิน 10-15%

กราฟที่สามแสดงการรั่วของอากาศ ที่กราฟแนวตั้งจะแสดงเป็นหน่วย x10 Litre/min เช่นถ้าแสดงค่าที่ 5 แสดงว่ามีลมรั่ว 50 ลิตรต่อนาทีเป็นต้น ถ้ามีการรั่วเพียงเล็กน้อยเครื่องจะชดเชยแรงดันให้อัตโนมัติอยู่แล้ว (มีในทุกรุ่น)  อย่างไรก็ดีระดับการรั่วก็ไม่ควรเกิน 30  ลิตรต่อนาที

อันสุดท้ายเป็นกราฟแสดงการเกิดภาวะหยุดหายใจ (Apnea) และหายใจแผ่ว (Hypopnea) กราฟสีชมพูแสดงการเกิด Apnea และกราฟสีเขียวจะแสดงการเกิด Hypopnea โดยความสูงจะแสดงถึงระยะเวลาที่เกิดขึ้นเป็นวินาที เช่น 10 หรือ 20 วินาทีเป็นต้น ทั้่งนี้โปรแกรมจะแสดงได้สูงสุดแค่ 60 วินาทีเท่านั้น ค่า AHI จะแสดงอยู่ในหน้าสรุป

กลับมาที่หน้าสรุป (หน้าแรก) ค่าต่างๆมีความหมายดังนี้

  • Int คือค่าแรงดันเริ่มต้นที่ตั้งไว้
  • Mean คือค่าแรงดันเฉลี่ยในแต่ละวัน
  • P95 คือค่าแรงดันที่เหมาะสมในการรักษา
  • Leak ในที่นี้จะแสดงจำนวนชั่วโมงทั้งหมดที่เกิดการรั่ว
  • Compl. (Compliance) แสดงจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานทั้งหมดในคืนนั้น
  • AHI (Apnea-Hypopnea Index) แสดงดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วขณะหลับ มีหน่วยเป็น จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยต่อชั่วโมง (ค่า AHI ไม่ควรเกิน 5)
  • SNI (Snoring Index) แสดงดัชนีการกรน มีหน่วยเป็นจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยต่อชั่วโมง (ค่า SNI ไม่ควรเกิน 5 เช่นกันครับ)

cpap จำเป็นต้อง caribrate หรือไม่

ปกติเครื่อง CPAP ควรทำการ Calibration ทุกๆ 1-2 ปี โดยสามารถนำเครื่องมาให้ทางเรา calibrate ให้ได้ครับ รวมทั้งการเช็คสภาพเครื่อง สภาพหน้ากาก การทำงานในส่วนอื่นๆ และทำความสะอาดภายในตัวเครื่องให้ด้วยครับ

สามารถเอาเครื่อง cpap ไปต่างประเทศได้หรือเปล่าครับ

เครื่อง CPAP สามารถนำไปต่างประเทศได้ครับ โดยแนะนำให้ถือขึ้นเครื่องผ่าน x-ray ได้ตามปกติ และให้เตรียมสำเนาใบรับรองแพทย์และคู่มือการใช้งานของเครื่องไปด้วยครับ (ภาษาอังกฤษทั้งคู่) เผื่อในกรณีที่เจ้าหน้าที่ที่สนามบินขอตรวจดู ก็แสดงเอกสารดังกล่าวก็ผ่านได้ไม่มีปัญหาครับ เท่าที่ทราบมาส่วนมากในหลายๆ ประเทศก็จะไม่ถามหรือเรียกตรวจเพราะจะทราบอยู่แล้วว่าคือเครื่องอะไรครับ ทั้งนี้เป็นกรณีที่นำขึ้นเครื่องไปเฉยๆ แต่ไม่ได้ใช้งานขณะที่อยู่บนเครื่องนะครับ

ใช้เครื่องแล้วพบปัญหาจมูกอักเสบ น้ำมูกไหล (เป็นภูมิแพ้) ควรทำอย่างไร

การที่มีปัญหาจมูกอักเสบ น้ำมูกไหล จากการใช้ CPAP อาจเป็นไปได้ว่าแรงดันลมที่แรงกว่าปกตินั้น มีผลทำให้เยื่อบุจมูกเกิดการระคายเคืองได้ครับ หากลดแรงดันลงแล้วค่า Avg. AHI ยังอยู่ที่น้อยกว่า 5 ก็ไม่มีปัญหาครับ AHI < 5 ถือว่าปกติครับ นอกจากนี้ผมแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและตรวจดูอาการภูมิแพ้ที่ว่านี้ด้วยนะครับ

ถ้าเป็นภูมิแพ้จมูกบวมอยู่ สามารถใช้เครื่อง Cpap ได้รึเปล่าครับ

จริงๆ แล้วถ้าจมูกมีอาการบวมหรืออักเสบจะไม่แนะนำให้ใช้ CPAP นะครับ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็จะแนะนำให้เริ่มใช้ที่แรงดันเบาๆ ก่อน และถ้าเป็นเครื่อง auto ก็จะให้ตั้งค่า maximum ไม่สูงนัก เช่นไม่เกิน 10 เป็นต้น เนื่องจากลมจากเครื่อง CPAP จะแรงกว่าการหายใจปกติ อาจทำให้แสบจมูกหรืออักเสบได้ และการที่จมูกมีการอุดกั้นอาจส่งผลให้เครื่องเพิ่มแรงดันให้สูงกว่าที่ควรจะเป็น เพราะคิดว่าเกิดจากการอุดกั้นที่ลำคอครับ

หากต้องการตั้งค่าเครื่องใหม่ เนื่องจากทำค่าเดิมหาย ต้องทำอย่างไรครับ

สามารถติดต่อเราได้ครับ ทางเราจะเก็บข้อมูลการตั้งค่าเครื่องของลูกค้าทุกท่านไว้ครับ -> ติดต่อเรา

ได้มีโอกาสไปทำ Sleep Test มา และหมอให้ใช้ CPAP ต้องเริ่มต้นอย่างไรบ้าง

  1. ศึกษาเรื่องเครื่อง CPAP ว่าคืออะไร ทำงานอย่างไร และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง เริ่มต้นจากบทความนี้ครับ -> เครื่อง CPAP คืออะไร
  2. ติดต่อเราเพื่อปรึกษาเบื้องต้นกับเจ้าหน้าที่
  3. ส่งผลตรวจ Sleep Test ให้กับเจ้าหน้าที่
  4. คลิกเพื่อ ลงทะเบียนทดลองเครื่อง CPAP โดยท่านต้องกรอกรายละเอียดต่างๆ เช่น เบอร์ติดต่อ ที่อยู่จัดส่ง และระบุรุ่นที่ต้องการทดลอง เป็นต้น หากท่านไม่ทราบว่าควรใช้เครื่องรุ่นไหน ก็เพียงแค่ระบุว่าให้ทางเราเลือกให้ก็ได้ครับ (สำหรับการส่งนอกเขตกรุงเทพฯ จะมีเก็บมัดจำก่อนนะครับ รบกวนอ่านรายละเอียดได้จากหน้าลงทะเบียน)

ใช้เครื่องมาเกือบ 3 ปี อยู่ดีๆอาการกรนก็กลับมา เป็นเพราะอะไรครับ

อาการที่ว่ามานั้นอาจเกิดได้จากสองสาเหตุครับ คือ 1) ช่วงแรงดันที่ตั้งไว้ไม่เพียงพอกับภาวะร่างกายในปัจจุบัน – คือถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องแบบ Auto แต่เราจะตั้งช่วงแรงดันให้เหมาะสมตามที่เราใช้ โดยไม่ให้กว้างมากนัก เช่น 5-12 cmH2O เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบสนองต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับของเราได้เร็วขึ้น ซึ่งถ้าเราใช้ไปนานๆ ภาวะร่างกายเราอาจเปลี่ยนไป เช่น อ้วนขึ้น หรืออายุมากขึ้น ทำให้ต้องการแรงดันสูงมากขึ้น ก็ต้องตั้งช่วงแรงดันให้กว้างขึ้นด้วยครับ

และ 2) ถ้าใช้ไปนานๆ แรงดันลมของเครื่องอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ ตามอายุการใช้งาน ผมแนะนำให้ลองปรับตามข้อ 1) ดูก่อน (ปรับค่า Max APAP ให้สูงขึ้นซัก 2 cmH2O ลองทำตามคู่มือดู) ถ้ายังไม่ดีขึ้น ให้นำเครื่องเข้ามาที่ออฟฟิศเพื่อให้ช่างเรา calibrate แรงดันให้ครับ

ขอสอบถามค่ะ พอดีใช้เครื่อง CPAP ของที่อื่นอยู่แต่หน้ากากแตก จะเปลี่ยนใช้หน้ากากที่ทาง NK ขายได้มั้ยคะ

ได้ครับ หน้ากากและท่ออากาศของเราสามารถใช้กับเครื่อง CPAP ได้ทุกยี่ห้อครับ

ท่ออากาศของเครื่อง CPAP แต่ละยี่ห้อ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากันหรือไม่

ท่ออากาศของเครื่อง CPAP จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเป็นมาตรฐานที่ 22 มม. ยาว 6 ฟุต (180 ซม.) เท่ากันทุกยี่ห้อครับ สามารถนำไปใช้กับเครื่อง CPAP ได้เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเครื่องบางยี่ห้อเท่านั้นที่ต้องใช้ท่ออากาศแบบมีท่อเซนเซอร์สอดอยู่ภายใน หน้ากากของเราทุกรุ่นสามารถใช้กับท่อได้ขนาดมาตรฐานได้ครับ

เราควรทำความสะอาดเครื่อง CPAP อย่างไรบ้างครับ มีส่วนไหนถอดมาล้างน้ำได้ไหมครับ

ในคู่มือเครื่อง CPAP ของเราจะมีคำแนะนำเรื่องทำความสะอาดให้ที่ท้ายเล่มนะครับ

การดูแลรักษา (Maintenance)

  1. เช็ดหน้ากากทุกเช้า โดยใช้ผ้าหรือทิชชูชุบน้ำเปล่าผสมแชมพูหรือสบู่อ่อนๆ (ห้ามใช้น้ำร้อน) เช็ดถูเบาๆบริเวณชิ้นส่วนที่มีการสัมผัสกับผิวหน้าเพื่อล้างคราบมัน แล้วเช็ดออกด้วยผ้าแห้ง
  2. ล้างท่ออากาศอย่างน้อยทุกๆ 1 สัปดาห์ ด้วยน้ำเปล่า (ห้ามใช้น้ำร้อน) แล้วผึ่งลมไว้จนแห้ง
  3. เปลี่ยนแผ่นกรองอากาศ ทุกๆ 2 เดือน หรืออาจน้อยกว่านั้นหากพบว่าแผ่นกรองสกปรกมาก โดยผู้ใช้สามารถแกะออกมาดูได้ตลอดเวลา การสั่งแผ่นกรองชิ้นใหม่ให้ติดต่อกับทางบริษัทที่เบอร์ 02-462-6441 หรือ 082-2233-710
  4. ตัวเครื่องให้ใช้ผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดโดยรอบ ห้ามล้างด้วยน้ำ

ใช้เครื่อง AutoCPAP แล้วมีน้ำมูกใสๆ ทุกเช้า จะเป็นเพราะอะไรครับ

เนื่องจากแรงลมจาก CPAP จะสูงกว่าแรงลมจากการหายใจปกติ อาจทำให้มีการระคายเคืองและเกิดน้ำมูกได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ด้านการนอนกรน หรือพิจารณาใช้ตัวให้ความชื้น (Humidifier) เพิ่มเติม เพื่อลดการระคายเคืองในช่องจมูกครับ

ซื้อเครื่อง cpap ได้เลยไหม โดยไม่ต้องทำ sleep test

แนะนำให้ทำ sleep test ก่อนซื้อเครื่อง CPAP หรือควรไปพบแพทย์ด้านการนอนหลับ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยว่าจำเป็นต้องทำ sleep test ก่อนหรือไม่

การทำ sleep test นั้น นอกจากจะทำให้ทราบว่ามีอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) หรือไม่แล้ว ยังสามารถตรวจเรื่องอื่นๆ ได้อีก เช่น ตรวจวัดคุณภาพการนอนว่าดีหรือไม่ มีหลับลึก หลับตื้น ในปริมาณที่เพียงพอหรือไม่ ท่าทางการนอนเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังสามารถตรวจหาภาวะความผิดปกติขณะหลับอื่นๆ นอกเหนือจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย เช่น ภาวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือภาวะนอนแล้วขากระตุก เป็นต้น

นอกจากนี้ สำหรับท่านที่ต้องการซื้อเครื่อง CPAP เพื่อรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การที่มีผลตรวจ sleep test จะทำให้เจ้าหน้าที่ของเราสามารถปรับตั้งค่าเครื่องให้เหมาะสมสำหรับท่านได้

อย่างไรก็ตาม ก็อาจมีบางท่านที่ไปพบแพทย์แล้วแพทย์บอกว่าไม่ต้องทำ sleep test ก็ได้ โดยส่วนมากเป็นผู้ที่มีอาการบงชี้ชัดเจน เช่น กรนเสียงดัง ง่วงนอนตอนกลางวันทั้งที่นอนเยอะแล้ว น้ำหน้กตัวมาก เป็นต้น ซึ่งแพทย์ก็อาจแนะนำให้ใช้ CPAP ในการรักษาได้เลยโดยไม่ต้องทำ sleep test ก่อนก็ได้ค่ะ

นอนกรนเพราะหายใจทางปากขณะหลับแก้ได้อย่างไร

จริงๆแล้วการกรนมีหลายสาเหตุ ส่วนการที่นอนกรนเพราะหายใจทางปากเป็นการกรนเนื่องจากช่องจมูกอุดตัน โดยปกติเวลาที่เราหายใจ ลมหายใจจะวิ่งผ่านจมูก เข้าสู่ช่องจมูก ลำคอ กล่องเสียงและเข้าสู่ปอด หากลมหายใจวิ่งได้ตามทางเดินปกติก็จะไม่มีเสียงใดๆ เกิดขึ้น แต่หากมีการอุดกั้นทางเดินหายใจไม่ว่าระดับใดก็ตาม ทำให้ลมที่วิ่งไปตามทางเดินปกติมีไม่มากพอ ร่างกายจะตอบสนองด้วยการอ้าปากหายใจร่วมด้วย เมื่อลมวิ่งเข้าไป 2ทาง ทั้งทางปากและทางจมูกก็จะไปปะทะกันบริเวณลำคอ เกิดเป็นลมหมุน ทำให้ผนังลำคอ ลิ้นไก่และเพดานอ่อนสั่น เกิดเป็นเสียงกรนขึ้นมา แนะนำให้ไปพบแพทย์ด้านการนอนกรนเพื่อตรวจดูช่องจมูกที่อุดตัน ซึ่งแพทย์จะได้หาวิธีรักษาที่ต้นเหตุให้ครับ

อยากให้ช่วยแนะนำแพทย์ผู้เชียวชาญด้านการนอนกรนให้หน่อยครับ

ดูรายชื่อแพทย์และโรงพยาบาลได้ที่นี่ค่ะ -> คลิก

เลือกหน้ากากอย่างไรดี?

ถ้าสามารถหายใจทางจมูกได้เป็นปกติแนะนำให้ใช้เป็นหน้ากากแบบครอบเฉพาะจมูก (Nasal mask) โดยจะมีให้เลือก 2 รุ่นคือแบบซิลิโคนและแบบเจล แบบซิลิโคนนั้นเป็นที่นิยมมากกว่าเนื่องจากใช้งานง่าย น้ำหนักเบา ไม่ค่อยมีลมรั่ว และไม่ต้องรัดให้แน่นมากนัก แต่ซิลิโคนอาจทำให้เกิดรอยกดทับได้ง่ายกว่า ส่วนแบบเจลนั้นจะมีน้ำหนักมากกว่า และเกิดลมรั่วได้ง่ายจึงต้องรัดให้แน่นมากกว่าแบบซิลิโคน ข้อดีคือตัวเจลมีความนุ่มนวลกว่า ไม่ค่อยเกิดรอยกดทับ แต่ข้อเสียคือส่วนที่เป็นเจลนั้นมักจะฉีกขาดง่ายทำให้เจลไหลรั่วออกมา

ในกรณีที่หายใจทางปากเป็นหลักเนื่องจากช่องจมูกมีการอุดตัน หรือเป็นคนนอนอ้าปาก จะแนะนำให้ใช้เป็นหน้ากากแบบที่ครอบทั้งปากและจมูก หรือ Full Face mask ซึ่งก็มีทั้งแบบซิลิโคนและแบบเจลเช่นเดียวกัน

นอกจากหน้ากากทั้ง 2 แบบที่กล่าวมาแล้ว ยังมีหน้ากากแบบสอดจมูก หรือ Nasal Pillow Mask อีกด้วย ซึ่งรายละเอียดต่างๆ สามารถดูได้ในบทความเรื่องการเลือกประเภทหน้ากาก CPAP ต่อไป

หน้ากากแบบครอบจมูกกับแบบสอดจมูกต่างกันยังไงคะ

แบบครอบจมูก (Nasal Mask) จะเป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งคนส่วนใหญ่นิยมใช้ และเหมาะกับผู้ที่เริ่มใช้เครื่องครั้งแรก การใช้งานอาจจะอึดอัดกว่าแบบสอดจมูก (Pillow Mask) เล็กน้อย แต่สามารถใช้กับแรงดันลมสูงๆได้ ส่วนแบบสอดจมูกนั้นจะให้ความรู้สึกสบายกว่าเพราะมีส่วนที่กดทับใบหน้าน้อยกว่า แต่ปัญหาคือมีการรั่วง่ายกว่ามากครับโดยเฉพาะผู้ที่ใช้แรงดันลมสูงๆ และไม่เหมาะกับคนที่ระคายเคืองช่องจมูกง่าย หรือเป็นภูมิแพ้ เพราะจะปล่อยลมเข้ารูจมูกเราโดยตรงจึงอาจระคายเคืองง่ายกว่าแบบครอบจมูกครับ

หน้ากากทั้งแบบครอบจมูกและแบบสอดจมูกใช้ท่อเดียวกันได้รึเปล่าคะ

หน้ากากทุกแบบของเราทั้งแบบครอบจมูก (Nasal Mask), แบบสอดจมูก (Pillow Mask) หรือแบบครอบทั้งจมูกและปาก (Full Face Mask) สามารถใช้ท่อเดียวกันได้ครับ

พวกท่อและหน้ากากเบิกต้นสังกัดได้ด้วยมั้ยครับ และถ้าซื้อเครื่องใหม่ต้องใช้ระยะเวลาห่างกันกี่ปีถึงจะเบิกต้นสังกัดได้อีกครั้งหนึ่งครับ

ต้องขอโทษที่ตอบกลับช้านะครับ ตอนนี้ข้าราชการสามารถใช้สิทธิ์เบิกหน้ากากได้แล้วครับ โดยให้เบิกได้ปีละ 1 ชุดและเบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท ส่วนท่อเบิกไม่ได้ครับ ส่วนการเบิกซื้อเครื่อง cpap เครื่องใหม่นั้น กรณีเครื่องเสียซ่อมไม่ได้สามารถให้เปลี่ยนได้ทุกๆ 5 ปีครับ ซึ่งเรื่องการเบิกนั้นทางเจ้าหน้าที่ของเราสามารถให้คำแนะนำและเดินเรื่องเอกสารเบิกกับทางโรงพยาบาลให้ได้ครับ ขอบคุณครับ

ใช้เครื่อง RESmart มาเกือบปีแล้ว เวลาดาวน์โหลดข้อมูลจะใช้เวลานานมาก ไม่ทราบต้องทำอย่างไรครับ

เครื่อง RESmart CPAP / Auto CPAP สามารถบันทึกข้อมูลการใช้เครื่องได้นานถึง 365 วัน อย่างไรก็ตามถ้าใช้เครื่องมามากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ข้อมูลใน memory ในตัวเครื่องจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเครื่องจะเก็บบันทึกการใช้งานของเราในทุกๆคืนที่ใช้ ซึ่งอาจส่งผลให้การดาวน์โหลดลงคอมพิวเตอร์นั้นใช้เวลานานขึ้นกว่าปกติ วิธีแก้ไขให้เราทำการล้างข้อมูลภายในเครื่องทุกๆ 3-4 เดือน โดยมีวิธีการดังนี้

  • ดาวน์โหลดข้อมูลล่าสุดลงคอมพิวเตอร์เก็บไว้
  • ให้จดค่าการตั้งเครื่องต่างๆไว้บนกระดาษเนื่องจากการลบข้อมูลดังกล่าวมีผลให้การตั้งค่าต่างๆ เช่นค่าแรงดันถูกรีเซ็ตไปด้วย ดังนั้นผู้ใช้จะต้องทำการตั้งค่าต่างๆใหม่ทั้งหมดหลังจากทำการล้างข้อมูลแล้ว ค่าต่างๆที่ต้องจดได้แก่ Init P, APAP P, Ramp, Max APAP
  • เข้าเมนูผู้ใช้ (User Menu) โดยกดปุ่ม Ramp Button ( ) ซึ่งอยู่ด้านขวาของปุ่ม On/Off ค้างไว้ประมาณ 5 วินาทีในขณะที่เครื่องปิดอยู่ (แต่เสียบปลั๊ก) จนกระทั่งหน้าจอแสดงคำว่า Heater
  • กดปุ่ม (+) เพื่อเลื่อนไปที่เมนู Date จะเห็นหน้าจอแสดงวันที่ปัจจุบัน (YY MM DD)
  • กดปุ่ม Ramp Button 1 ครั้ง เข้าสู่เมนู Year แล้วกดปุ่ม (-) จนกระทั่งได้ Year = 2097 จากนั้นกดปุ่ม Ramp Button 1 ครั้ง
  • เข้าเมนู Month แล้วตั้งค่า Month = 07 โดยใช้ปุ่ม (+) / (-) จากนั้นกดปุ่ม Ramp Button 1 ครั้ง
  • เข้าเมนู Day แล้วตั้งค่า Day = 01 โดยใช้ปุ่ม (+) / (-) จากนั้นกดปุ่ม Ramp Button 1 ครั้ง
  • หน้าจอจะเข้าสู่เมนู Hour ให้กดปุ่ม On/Off (ตรงกลางสีแดง) 1 ครั้ง จากนั้นเครื่องจะกลับมาแสดงหน้าจอปกติ (stand by) เป็นอันเสร็จขั้นตอน
  • ทำการตั้งค่าต่างๆใหม่ทั้งหมดตามที่ได้จดไว้ก่อนหน้านี้ ได้แก่ Init P, APAP P, Ramp, Max APAP
หมายเหตุ
  • การดาวน์โหลดครั้งต่อไปให้กดที่ปุ่ม Download ในโปรแกรม RESmart จากนั้นโปรแกรมจะถามว่าให้อัพเดตข้อมูลไปบนไฟล์เดิมเลยหรือไม่ (Would you want to update this patient archive?) ให้กด Yes ข้อมูลการใช้งานล่าสุดของท่านจะถูกเพิ่มไปบนไฟล์เดิม โดยที่ข้อมูลก่อนหน้านี้ที่ท่านได้ดาวน์โหลดไว้แล้วก็ยังคงอยู่อย่างครบถ้วน
  • เป็นการลบข้อมูลการใช้งานเท่านั้น ส่วนจำนวนชั่วโมงและวันที่ใช้งานสะสมจะยังคงอยู่

เครื่องรุ่น Uwish กับรุ่น Transcend แตกต่างกันยังไงคะ

Uwish (เครื่องขนาดปกติ – เน้นใช้งานที่บ้าน)

  • มีขนาดใหญ่กว่าและมีน้ำหนักมากกว่า (หนักประมาณ 1.5 กก.)
  • มีหน้าจอ LCD แสดงการตั้งค่าต่างๆ ชัดเจน
  • สามารถตั้งค่าต่างๆ ผ่านทางหน้าจอเครื่องได้โดยตรง
  • ให้แรงลม (Flow) ที่นุ่มนวลกว่า
  • เสียงเงียบกว่า
  • เหมาะสำหรับใช้งานที่บ้านเป็นหลัก
  • ไม่มีแบตเตอรี่สำรอง ต้องใช้งานโดยการเสียบปลั๊กไฟตลอดเวลาเท่าน้้น

Transcend (เครื่องขนาดเล็ก – เน้นพกพาเดินทาง)

  • มีขนาดเล็กและเบากว่า (หนักประมาณ 360 กรัม)
  • ไม่มีหน้าจอแสดงผล การตั้งค่าต่างๆ ต้องทำผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
  • แรงลม (Flow) จะแรงกว่า ณ ที่ความดันเดียวกัน เนื่องจากตัวมอเตอร์ที่สร้างแรงดันลมมีขนาดเล็กกว่า ส่วนใหญ่แล้วคนไข้ที่รูปร่างใหญ่ น้ำหนักตัวมาก มักจะชอบใช้ลมแรงๆ ก็จะชอบ Transcend มากกว่า
  • เสียงดังกว่า
  • เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางบ่อยๆ เน้นใช้งานนอกสถานที่ เพราะสะดวกในการพกพามากกว่า
  • สามารถต่อใช้งานกับแบตเตอรี่สำรองได้ ส่วน RESmart ต้องใช้งานโดยการเสียบปลั๊กไฟเท่าน้้น

นอกนั้นมีคุณสมบัติเหมือนกันทุกอย่าง เช่น มีระบบลดแรงต้านตอนหายใจออก (RESlex ใน RESmart และ EZEX ใน Transcend), Ramp time, สามารถเก็บข้อมูลการใช้งานและพิมพ์เป็นรายงานออกมาได้, รับประกันเครื่อง 3 ปี เป็นต้น

กรณีน้ำหนักลดลง เราต้องปรับแรงดันลมลงไหมครับ

ถ้าเป็นเครื่อง Auto ก็ไม่ต้องทำอะไร เพราะเครื่องจะปรับแรงดันลมให้เองโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าใช้เป็นเครื่องแบบ Manual ก็ต้องลองปรับแรงดันลมลงเองทีละ 1 cmH2O จากนั้นให้ดาวน์โหลดผลจากเครื่องเพื่อดูค่า AHI ว่าเกิน 5 หรือไม่ ถ้าไม่เกินก็ให้ลองปรับลดแรงดันลงอีก แล้วเช็คค่า AHI ดูอย่างนี้เรื่อยๆ จนค่า AHI เริ่มจะเกิน 5 แล้ว ก็ให้หยุดปรับแรงดันครับ นอกจากนี้ถ้าปรับลดแรงดันลมลงมาที่แรงดันต่ำสุดคือที่ 4 cmH2O แล้วพบว่าค่า AHI ยังไม่เกิน 5 ก็สามารถพิจารณาหยุดใช้เครื่องได้ครับ

ถ้าลดน้ำหนักลงจากเดิมเป็น 10 กิโล ผอมลง จำเป็นต้องใช้เครื่อง cpap ต่อไปรึเปล่าครับ

อันนี้ไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดครับ วิธีที่แน่นอนที่สุดคือต้องยืนยันด้วยการทำ sleep test อีกครั้งเพื่อดูว่าภาวะการกรนและหยุดหายใจขณะหลับลดลงมากน้อยเพียงใด เช่น ถ้าค่า AHI (ดัชนีการหยุดหายใจ) ลดเหลือน้อยกว่า 5 ครั้งต่อชั่วโมง แพทย์อาจวินิจฉัยให้เลิกใช้เครื่องได้ครับ

อีกทางหนึ่งคือให้ลองดาวน์โหลดผลจากเครื่อง cpap ถ้าแรงดันวิ่งที่ค่าต่ำสุดคือ 4 cmH2O ตลอดเวลา (ควรทดลองซักระยะนึงเพื่อให้แน่ใจ) โดยที่ค่า AHI ไม่เกิน 5 ก็หยุดใช้เครื่องได้

หรืออีกทางง่ายๆแต่ไม่แม่นยำนัก ก็คือทดลองหยุดใช้เครื่องดู แล้วดูอาการต่างๆ เช่น ให้คนสังเกตว่ามีเสียงกรนหรือหยุดหายใจหรือไม่ ตื่นนอนมาแล้วปวดหัวหรือเปล่า กลางวันง่วงเหมือนน้อยไม่เต็มอิ่ม มีหลับในหรือไม่ เป็นต้นครับ

เครื่อง CPAP สามารถเบิกราชการได้หรือไม่

เครื่อง CPAP สามารถเบิกราชการได้ 20,000 บาท โดยผู้ซื้อจะต้องเป็นข้าราชการสังกัดกรมบัญชีกลาง และมีแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาลเป็นผู้ออกใบสั่งแพทย์ให้ ถ้าท่านซื้อ CPAP กับเรา ทางเราสามารถดำเนินเรื่องเอกสารกับทางโรงพยาบาลให้ท่านได้ ท่านเพียงแต่นำเอกสารที่สมบูรณ์จากทางเราไปเบิกกับหน่วยงานต้นสังกัดของท่านครับ

ข้อมูลเพิ่มเติม:

สำหรับข้าราชการ/ข้าราชการบำนาญ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และบุคคลเกี่ยวข้องที่มีสิทธิ์ เช่น บิดา มารดา คู่สมรส (บุตร-ธิดา ที่อายุไม่เกิน 20 ปี) สามารถใช้สิทธิ์ได้ดังนี้

  • สามารถเบิกค่าตรวจวิเคราะห์การนอนหลับ (Sleep Test) ได้ตามสิทธิ (7,000 บาท)
  • สามารถเบิกค่าเครื่องรักษา (CPAP) ได้ตามสิทธิ์ (20,000 บาท) กรณีเครื่องเสียซ่อมไม่ได้ สามารถให้เปลี่ยนได้ทุกๆ 5 ปี
  • สามารถเบิกค่าหน้ากากชนิดครอบจมูกหรือปากที่่ใช้กับเครื่อง CPAP ได้ (4,000 บาท) ปีละ 1 ชุด

เครื่องแบบ Auto ต่างกับเครื่องแบบ Manual (แรงดันคงที่) อย่างไร

เครื่อง Auto CPAP หรือ Auto-adjusting CPAP จะปรับแรงดันลมที่เหมาะสมให้กับเราให้โดยอัตโนมัติตลอดทั้งคืน เราเพียงแต่ตั้งช่วงแรงดันไว้ เช่น 5-15 cmH2O เป็นต้น เครื่่องก็จะจ่ายแรงดันลมให้ตามสภาพการหายใจของเรา เช่น ในขณะที่เครื่องให้แรงดันอยู่ที่ 5 แล้วเราเกิดมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือกรนรุนแรงขึ้น เครื่องก็จะคำนวณและจ่ายแรงดันสูงขึ้นเป็น 6 หรือ 7 เป็นต้น

ส่วนเครื่อง Manual CPAP นั้นจะให้แรงดันคงที่ค่าเดียวตามที่เราตั้งไว้ตลอดทั้งคืน เช่น 8 cmH2O เป็นต้น

โดยปกติแล้วเราจะทราบระดับแรงดันที่เหมาะสมในการรักษาอาการนอนกรนจากการทำ sleep test ซึ่งทำให้สามารถเลือกซื้อเครื่องชนิดแรงดันคงที่ (Manual CPAP) ไปใช้ได้ โดยให้เครื่องปล่อยแรงดันลมตามระดับที่เราตั้งไว้ แบบคงที่ตลอดเวลาแต่ในกรณีที่ไม่ได้ทำ sleep test หรือไม่มีผลการใช้เครื่อง CPAP จาก sleep test ก็แนะนำให้ใช้เครื่องแบบอัตโนมัติ (Auto CPAP) เพราะเครื่องจะหาแรงดันที่เหมาะสมให้กับเราโดยอัตโนมัติตลอดเวลา โดยที่เราไม่ต้องทราบค่าแรงดันก็ได้เพราะเครื่องจะหาให้เอง ข้อดีของเครื่อง auto ที่เหนือกว่าเครื่อง manual อีกอย่างคือไม่ต้องคอยปรับตั้งแรงดันเรื่อยๆหากมีการเปลียนแปลงในอนาคต เช่น อายุมากขึ้น น้ำหนักมากขึ้น หรือในบางคืนที่ต้องการแรงดันมากกว่าปกติเนื่องจากเหน็ดเหนื่อยจากการออกแรง เล่นกีฬา หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

เครื่อง Auto CPAP
ข้อดี:
– ปรับแรงดันที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติ
– อึดอัดน้อยกว่า เนื่องจากแรงดันไม่ได้สูงตลอดทั้งคืน
– ดูแลง่าย ไม่ต้องคอยมาปรับตั้งแรงดันเรื่อยๆ
ข้อเสีย:
– ราคาแพง

เครื่อง Manual CPAP
ข้อดี:
– ราคาถูกกว่าแบบ Auto
ข้อเสีย:
– อึดอัดมากกว่า โดยเฉพาะถ้าต้องการใช้งานที่แรงดันสูงๆ
– ต้องคอยมาปรับตั้งแรงดันเรื่อยๆ

จำเป็นต้องใช้ตัวให้ความชื้น (Humidifier) หรือไม่

เครื่องให้ความชื้น หรือ himidifier นั้นจำเป็นในกรณีที่ผู้ที่ใช้เครื่อง CPAP แล้วมีอาการคอแห้งหรือแสบจมูก ซึ่งอาจเกิดจากการใช้แรงดันลมค่อนข้างสูงเช่น 12 hPa (cmH2O) ขึ้นไปหรือใช้งานในที่ที่มีอากาศหนาวซึ่งมักมีความชื้นในอากาศน้อย เช่นบนที่สูงทางภาตเหนือ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ในบางกรณีอาจมีอาการดังกล่าวโดยที่แรงดันไม่สูงมากนักก็เป็นได้ ซึ่งอาจเกิดจากการที่โพรงจมูกอักเสบง่ายหรือเป็นภูมิแพ้

แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ในเมืองไทยไม่ค่อยมีการใช้ humidifier มากเท่าใดนักเนื่องจากอากาศบ้านเราค่อนข้างชื้น อย่างไรก็ดีแนะนำให้ดูที่ตัวเราเองเป็นหลักจะดีที่สุด คือถ้าใช้เครื่องแล้วมีอาการคอแห้งหรือแสบจมูก ก็แนะนำให้หาตัว humidifier มาใช้เพิ่มเติม

เครื่อง CPAP และ BiPAP ต่างกันอย่างไร

CPAP = Continuous Positive Airway Pressure เป็นเครื่องอัดแรงดันลมเพื่อขยายช่องทางเดินหายใจให้เปิดกว้างออกเพื่อรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยระดับแรงดันลมที่ปล่อยออกมาจะมีค่าเท่ากันทั้งในจังหวะหายใจเข้าและออก ทั้งนี้ไม่ว่าเครื่องจะเป็นแบบ manual หรือ automatic ก็ตาม ถ้าเป็นเครื่องแบบ manual (fixed pressure) แรงดันจะเท่ากันตลอดทั้งคืน แต่ถ้าเป็นเครื่อง Auto แรงดันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามภาวะการกรนของเรา แต่แรงดันก็จะเท่ากันในจังหวะหายใจเข้าและออก

ส่วนเครื่อง BiPAP (Bi-level Positive Airwar Pressure) เป็นเครื่องอัดแรงดันลมแบบ 2 ระดับ คือสามารถตั้งให้ระดับแรงดันลมในจังหวะหายใจเข้าและออกมีค่าแตกต่างกันได้ เช่น ขณะหายใจเข้าแรงดันเป็น 15 cmH2O ขณะหายใจออกแรงดันเป็น 6 cmH2O เป็นต้น ใช้สำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรนหรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ต้องใช้แรงดันในการรักษาสูงๆเช่น 15 cmH2O ขึ้นไป เนื่องจากสามารถกำหนดให้แรงดันตอนหายใจออกมีค่าต่ำๆได้ทำให้หายใจออกได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้เครื่อง BiPAP ยังใช้เป็นเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอื่นๆได้อีก เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรดกล้ามเนื้อปอดอ่อนแรง หรือผู้ป่วยเจาะคอ เป็นต้น เครื่อง BiPAP ส่วนใหญ่จะปรับโหมดเป็น CPAP ได้

แนะนำบทความเพิ่มเติม:
เครื่อง CPAP คืออะไร
เครื่อง BiPAP คืออะไร
เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator) คืออะไร

สนใจทดลองเครื่องแต่อยู่ต่างจังหวัด ไม่ทราบต้องทำอย่างไรบ้างครับ

ในกรณีที่ต้องการทดลองใช้เครื่องแต่อยู่ต่างจังหวัด ทางเรามีบริการส่งเครื่องไปให้ถึงที่บ้านเพื่อทดลองใช้ฟรี 7 วัน โดยจะมีค่ามัดจำเครื่อง 3,000 บาท โดยเราจะจัดส่งให้ฟรี (ผู้ใช้เป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งเครื่องกลับมาให้เรา) หากท่านมีข้อสงสัยใดๆในระหว่างที่ทดลองใช้ ทางเรายินดีให้คำปรึกษาตลอด เมื่อทางได้รับเครื่องคืนเรียบร้อยแล้วเราก็จะคืนเงินมัดจำให้ท่านเต็มจำนวน หรือถ้าตัดสินใจซื้อก็สามารถหักเงินมัดจำกับค่าเครื่องได้

ขั้นตอนการทดลองก็ง่ายๆ เพียงแค่ท่านกรอก แบบฟอร์มลงทะเบียนขอทดลองใช้เครื่อง จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปเพื่อแจ้งรายละเอียดต่างๆและนัดส่งเครื่องให้แก่ท่าน

อยากทราบเงื่อนไขการรับประกันเครื่องค่ะ

เครื่อง CPAP ของเราทุกรุ่นรับประกัน 3 ปี ส่วน เครื่อง BiPAP 2 ปีครับ ไม่รวมอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น หน้ากาก ท่ออากาศ ฟิลเตอร์

เราควรทำความสะอาดเครื่อง Cpap อย่างไรบ้างอะครับ มีส่วนไหนถอดมาล้างน้ำได้ไหมครับ

การดูแลรักษา (Maintenance)

– เช็ดหน้ากากทุกเช้า โดยใช้ผ้าหรือทิชชูชุบน้ำเปล่าผสมแชมพูหรือสบู่อ่อนๆ (ห้ามใช้น้ำร้อน) เช็ดถูเบาๆบริเวณชิ้นส่วนที่มีการสัมผัสกับผิวหน้าเพื่อล้างคราบมัน แล้วเช็ดออกด้วยผ้าแห้ง
– ล้างท่ออากาศอย่างน้อยทุกๆ 1 สัปดาห์ ด้วยน้ำเปล่า (ห้ามใช้น้ำร้อน) แล้วผึ่งลมไว้จนแห้ง
– เปลี่ยนแผ่นกรองอากาศ ทุกๆ 2 เดือน หรืออาจน้อยกว่านั้นหากพบว่าแผ่นกรองสกปรกมาก โดยผู้ใช้สามารถแกะออกมาดูได้ตลอดเวลา การสั่งแผ่นกรองชิ้นใหม่ให้ติดต่อกับทางบริษัทที่เบอร์ 02-462-6441 หรือ 082-2233-710
– ตัวเครื่องให้ใช้ผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดโดยรอบ ห้ามล้างด้วยน้ำ