BiPAP คืออะไร เหมาะกับใคร และแตกต่างจาก CPAP อย่างไร?
BiPAP คืออะไร?
BiPAP คือ เครื่องช่วยหายใจ ชนิดแรงดัน 2 ระดับ (Bi-level Positive Airwar Pressure, BiPAP) สามารถตั้งให้ระดับแรงดันอากาศในจังหวะหายใจเข้าและหายใจออกมีค่าแตกต่างกันได้
เช่น ขณะหายใจเข้าแรงดันเป็น 15 cmH2O ขณะหายใจออกแรงดันเป็น 6 cmH2O เป็นต้น
เครื่อง BiPAP ใช้รักษาผู้ที่มีอาการนอนกรนหรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับขั้นรุนแรง ที่ต้องใช้แรงดันในการรักษาสูงๆ เช่น 15 cmH2O ขึ้นไปเป็นต้น
เนื่องจากสามารถกำหนดให้แรงดันตอนหายใจออกมีค่าต่ำๆได้ จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถหายใจออกได้ง่ายขึ้น ลดความอึดอัดเนื่องจากการที่ต้องหายใจออกสวนทางกับแรงลมที่เครื่องพ่นออกมา
ราคาเครื่อง BiPAP มีตั้งแต่ 95,000 – 125,000 บาท โดยส่วนใหญ่ แพทย์มักให้ผู้ป่วยใช้เครื่อง BiPAP ควบคู่กับ เครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator) เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ
BiPAP เหมาะสำหรับใคร
ภาวะนอนกรน เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาการนอนกรนที่อาจเป็นปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพก็คือ การกรนที่อยู่ในระดับปานกลางจนถึงขั้นรุนแรง ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย
สำหรับการรักษามีหลายทางเลือก เช่น รักษาด้วยวิธีผ่าตัด และการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ที่ได้รับความนิยมได้แก่การใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก
กรณีนอนกรนทั่วไปที่อาจส่งเสียงรบกวนคนใกล้ชิดและยังไม่อยู่ในขั้นรุนแรง อาจทำการรักษาด้วยเครื่อง ซีแพพ (CPAP)
ส่วนคนที่อยู่ในภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือมีอาการกรนระดับปานกลางถึงขั้นรุนแรง ที่ต้องใช้แรงดันในการรักษาสูงๆ อุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับการรักษาได้แก่ เครื่อง BiPAP
BiPAP แตกต่างจาก CPAP อย่างไร
อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็นเครื่องช่วยหายใจที่นิยมนำมาใช้ต่อกับหน้ากากเพื่อรักษาผู้ที่นอนกรนหรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจถูกปิดกั้น มี 2 ประเภท ได้แก่
- อุปกรณ์ที่ให้ความดันบวก 2 ระดับ หรือเครื่อง BiPAP
- อุปกรณ์ที่ให้ความดันบวกคงที่ ได้แก่ เครื่อง CPAP
เครื่อง BiPAP จะให้แรงดันที่แตกต่างกันในขณะหายใจเข้าและออก ใช้รักษาผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับขั้นรุนแรง ซึ่งต้องใช้แรงดันในการรักษาสูงๆ เช่น เกินกว่า 15 cmH2O ขึ้นไป หรือใช้รักษาผู้ที่มีโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
ส่วนเครื่อง CPAP จะให้แรงดันค่าเดียวทั้งขณะหายใจเข้าและออก ใช้รักษาผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ทุกระดับ แต่ไม่ต้องการแรงดันรักษาที่สูงมากนัก เช่น ต่ำกว่า 15 cmH2O เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม: อธิบาย ความแตกต่างระหว่างเครื่อง CPAP และ BiPAP แบบละเอียด
การทำงานของเครื่อง BiPAP
เครื่อง BiPAP มีหลักการทำงานในการช่วยหายใจ (Ventilation) โดยการอัดลมด้วยความดันสูงในช่วงที่หายใจเข้า และผ่อนความดันลงในช่วงหายใจออก ทำให้มีการขยายตัวของปอดและลดความต้านทานของระบบทางเดินหายใจที่มีการปิดกั้น
อธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือการใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน ลมที่เป่าเข้าไปจะไปถ่างทางเดินหายใจให้กว้างออก ทำให้ไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ
เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่นอนกรนในระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรงและมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ข้อดีของเครื่อง BiPAP ก็คือสามารถปรับระดับแรงดันได้ตามอาการของผู้ป่วย
เครื่อง BiPAP เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาอาการนอนกรน โดยแรงดันลมจะช่วยเปิดขยาย และถ่างทางเดินหายใจส่วนบนที่ถูกปิดกั้นให้ขยายหรือเปิดโล่ง
ทำให้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนธรรมดา ข้อดีได้แก่ปัจจุบันตัวเครื่อง BiPAP มีขนาดเล็ก สามารถพกพาไปที่ไหน ๆได้ค่อนข้างสะดวก
แนะนำอ่านเพิ่มเติม:
- เครื่องช่วยหายใจ ชนิดแรงดัน 2 ระดับ (BiPAP) รักษาอาการนอนกรน ได้อย่างไร
- สาระน่ารู้ เกี่ยวกับปัญหานอนกรน และวิธีรักษาด้วยเครื่อง BiPAP
การตั้งค่าเครื่อง BiPAP
เครื่อง BiPAP จะมีหลักการตั้งค่า (Settings) ที่เป็นพื้นฐานดังนี้
- Mode : เครื่อง BiPAP สามารถตั้งค่าโหมดการทำงานได้ดังนี้
- Spontaneous (S Mode) – คนไข้เป็นคนกำหนดจังหวะและอัตราการหายใจเอง
- Timed (T Mode) – เครื่องเป็นตัวกำหนดจังหวะและอัตราการหายใจให้คนไข้ทั้งหมด
- Spontaneous/Timed (S/T Mode) – คนไข้เป็นคนกำหนดจังหวะและอัตราการหายใจเอง จนเมื่ออัตราการหายใจต่ำกว่าค่าที่กำหนด เครื่องจะปรับเป็น Timed Mode
- CPAP Mode – เครื่องปล่อยแรงดันคงที่ เท่ากันทั้งจังหวะหายใจเข้าและออก
- Optional Modes – โหมดอื่นๆ แล้วแต่รุ่นของเครื่อง เช่น PCV, SIMV
- Backup Rate : การกำหนดค่าอัตราการหายใจขั้นต่ำ มีหน่วยเป็น Breaths per minute (BPM) ถ้าคนไข้มีอัตราการหายใจต่ำกว่าค่าที่กำหนดนี้ เครื่องจะปรับเป็น Timed Mode เพื่อช่วยหายใจให้คนไข้เองโดยอัตโนมัติ
- IPAP : ระดับแรงดันที่เครื่องจะปล่อยให้ในจังหวะหายใจเข้า
- EPAP : ระดับแรงดันที่เครื่องจะปล่อยให้ในจังหวะหายใจออก
- Ramp: สามารถตั้งให้เครื่องปล่อยแรงดันอากาศที่ระดับต่ำๆ ในช่วงเริ่มต้นได้
ประโยขน์ของ BiPAP
เครื่อง BiPAP ช่วยรักษาโรคดังต่อไปนี้
- อาการนอนกรน และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ขั้นรุนแรง
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD)
- โรคทางประสาทและกล้ามเนื้อ Neuromuscular Disease
- โรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
อาการนอนกรน ที่เกิดจากปัญหาสุขภาพเช่น ป่วยเป็นไข้หวัดหรือภูมิแพ้ทำให้หายใจลำบาก และต้องหายใจทางปากจนเกิดเสียงกรน เมื่อดูแลรักษาสุขภาพอาการกรนก็จะหายได้เองหรือเป็นการกรนที่ไม่รุนแรง และไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
แต่การกรนเสียงดังอาจเป็นปัญหาสำหรับคนรอบข้างที่อยู่ใกล้ชิด เพียงแต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตนเองมากนัก ส่วนอันตรายที่เกิดจากภาวะนอนกรนที่อยู่ในขั้นรุนแรงได้แก่
- มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่อาจเป็นอันตรายร้ายแรงและทำให้เสียชีวิตได้
- ภาวะหยุดหายใจเป็นระยะ ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้ง่วงนอนระหว่างวันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการขับรถ
- ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับทำให้ออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอ หากเกิดขึ้นเป็นเวลานาน. ทำให้เกิดสารพิษในเลือดและนำไปสู่ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบประสาทและสมอง
- ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เมื่อตื่นนอนจะรู้สึกไม่สดชื่น หงุดหงิดง่าย หรืออาจมีภาวะซึมเศร้าได้
- อาการนอนกรนที่รุนแรง ยังส่งผลทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงหรือทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศอีกด้วย
สรุป
สำหรับอาการนอนกรนที่มีความรุนแรง และมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ การรักษาด้วยเครื่อง BiPAP ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถรักษาอาการนอนกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังหาซื้อได้ไม่ยาก เนื่องจากมีบริษัทตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย หลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ที่มีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจ คอยให้คำแนะนำพร้อมบริการหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน
นอนกรน โดยไม่ได้ทำการ Sleep Test ควรเลือกซื้อรุ่นไหนดีค่ะ
แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ครับ โดยแพทย์อาจแนะนำให้ทำ sleep test ก่อนหรือไม่ก็ได้ และหากต้องรับการรักษาด้วยเครื่อง cpap แพทย์จะแนะนำเป็นประเภท เช่น เครื่องแรงดันคงที่ หรือเครื่องที่ปรับแรงดันให้อัตโนมัติ รวมทั้งค่าแรงดันที่ใช้ในการรักษาด้วย ข้อมูลเหล่านี้ทางเจ้าหน้าที่ cpap จะนำมาพิจารณาเลือกรุ่นเครื่องที่เหมาะสมให้อีกทีครับ
เครื่อง Bipap กับ auto bipap ต่างกันอย่างไรคะ
เครื่อง BiPAP แบบแรงดันคงที่ (Fixed) เครื่องจะปล่อยแรงดันลมขณะหายใจเข้า (IPAP) และแรงดันลมขณะหายใจออก (EPAP) แบบคงที่ตลอดเวลาตามค่าแรงดันที่ผู้ใช้กำหนดไว้ ส่วน Auto BiPAP นั้น ผู้ใช้จะกำหนดค่าแรงดัน IPAP/EPAP เป็นช่วงแรงดัน เช่น Min IPAP = 6 / Max IPAP = 15 เป็นต้น แล้วเครื่องจะปรับแรงดันลมให้อัตโนมัติแต่จะอยู่ภายในค่าที่เรากำหนดไว้ เครื่องทั้งสองประเภทนี้จะเหมาะกับคนไข้คนละกลุ่มกัน โดยถ้าเป็นคนไข้โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แพทย์มักจะให้ใช้เป็น fixed BiPAP แต่ถ้าเป็นคนไข้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับรุนแรง แพทย์จะให้ใช้เป็น Auto BiPAP ครับ
Bmc Bipap ทาง NK มีจำหน่ายด้วยมั้ยครับ
ทางเราไม่มียี่ห้อ BMC จำหน่ายครับ ณ ตอนนี้มีแต่ BiPAP ของ Philips ครับ https://www.nksleepcare.com/products/bipap/
ผู้ป่วยเจาะคอแนะนำรุ่นไหนคะ
แนะนำเป็นรุ่น Philips BiPAP A40 ครับ คลิกดูรายละเอียดที่นี่