8 ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้เครื่อง CPAP และวิธีแก้ไข

ปัญหาที่พบบ่อยใน CPAP

การใช้เครื่องมือที่เป่าลมเข้าไปในทางเดินหายใจส่วนบน เพื่อทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้นหรือไม่เกิดการอุดกั้นขณะนอนหลับ ที่เรียกว่า เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) นั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรน (snoring) และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) ซึ่งปฏิเสธการรักษาด้วยเครื่องครอบฟัน (Oral appliance) หรือ การผ่าตัด

เครื่องมือนี้เป็นการนำหน้ากากครอบจมูกขณะนอนหลับ ซึ่งหน้ากากนี้จะต่อเข้ากับเครื่องที่สามารถขับลมซึ่งมีแรงดันเป็นบวกออกมา ลมที่ขับออกมาขณะนอนหลับจะช่วยค้ำยัน ไม่ให้ทางเดินหายใจเกิดการอุดกั้นขณะหายใจเข้า

การรักษาด้วยการใช้เครื่อง CPAP นี้เป็นการรักษาอาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับปานกลางถึงรุนแรง (moderate to severe OSA) ที่ดีที่สุด ซึ่งควรพิจารณาลองใช้ในผู้ป่วยทุกราย ก่อนพิจารณาการผ่าตัดเสมอ

8 ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้เครื่อง CPAP และวิธีแก้ไข

ปัญหาวิธีแก้ไข

1. ทนระดับความดันไม่ได้

2. ลมรั่วจากหน้ากาก

  • รัดหน้ากากให้แน่น
  • ลดขนาดหน้ากากให้เหมาะสม
  • เช็คการตั้งค่าแรงดันลมว่าแรงเกินไปหรือไม่
สาเหตุที่ทำให้เกิดลมรั่วจากหน้ากาก

อ่านเพิ่มเติม: การเลือกหน้ากาก CPAP

3. รอยกดทับจากหน้ากาก หรือ ความรู้สึกแน่นจากการใส่หน้ากาก

  • คลายสายหน้ากากไม่ให้แน่นจนเกินไป
  • เลือกหน้ากากที่มีขนาดพอเหมาะ
  • เปลี่ยนขนาด หรือชนิดหน้ากาก
  • งดใช้เครื่องเป็นบางวัน

เลือกดูหน้ากาก CPAP ประเภทต่างๆ ได้ที่นี่

4. อาการคัดแน่นจมูก

  • ใช้น้ำเกลือพ่นจมูกเพื่อให้ความชุ่มชื้นก่อนเริ่มใช้เครื่อง
  • ใช้ CPAP รุ่นที่มีเครื่องปรับอากาศให้อุ่นและชื้น (humidifier) ร่วมด้วย
  • ใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก
  • รับประทานยาต้านฮิสตามีนชนิดไม่ง่วง
  • ในรายที่อาการคัดจมูกไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ หู คอ จมูก

5. การกลัวที่แคบ

  • เปลี่ยนชนิดหน้ากาก เป็นชนิดสอดรูจมูก
  • ลองใส่เครื่องขณะยังตื่น
  • ญาติควรให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย

6. การนอนไม่หลับจากการใช้เครื่อง

  • ลองใส่เครื่องขณะยังตื่น
  • หลีกเลี่ยงกาแฟ และแอลกอฮอล์ในช่วง 8 ชั่วโมงก่อนนอน

7. ปากแห้ง

  • ใช้ CPAP รุ่นที่มีเครื่องปรับอากาศให้อุ่นและชื้น (humidifier) ร่วมด้วย
  • ใช้สายรัดคางร่วมด้วย
  • รับประทานน้ำ 1 แก้วก่อนนอน
  • ควรพยายามหลีกเลี่ยงอากาศเย็น โดยเฉพาะแอร์ พัดลมเป่า ถ้าต้องการเปิดแอร์ ควรตั้งอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้สูงกว่า 25 องศาเซลเซียสเพื่อไม่ให้อากาศเย็นจนเกินไป ในกรณีที่ใช้พัดลมไม่ควรเปิดเบอร์แรงสุด และควรให้พัดลมส่ายไปมา ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมโดยตรง ควรนอนอยู่ห่างจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมพอสมควร หรือไม่ให้อยู่ในทิศทางของลม

8. เครื่องหลุดโดยไม่ตั้งใจขณะหลับ


ที่มา – บทความเรื่อง “ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน (CPAP) รักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และวิธีแก้ไข”

รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
สาขาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

30 ความคิดเห็น

    1. แนะนำให้ใช้เครื่องทำความชื้น (Heated Humidifier) ร่วมด้วยครับ แต่ถ้ามีใช้อยู่แล้วอาจต้องขอข้อมูลหน้ากากและการปรับตั้งเครื่องเพิ่มเติมครับ

  1. ใช้รุ่นครอบจมูก nasal mask แล้วเจ็บเป็นแผลกดทับจากซิลิโคลนหน้ากาก ระหว่างบริเวณใต้จมูกกับปาก ทั้งที่ไม่ได้รัดแน่นมากแก้ไขอย่างไรดีครับ นอนตะแครง

    1. แนะนำให้ลองเปลี่ยนประเภทหน้ากากเป็นแบบสอดจมูกครับ (Nasal pillow mask) เนื่องจากจะมีการกดทับบริเวณใต้จมูกกับปากน้อยกว่าแบบ nasal mask ครับ

  2. เวลาใช้ไป1-2 ชมมีน้ำค้างสะสมในท่อแก่ไขอย่างไรได้บ้างครับ

    1. ให้ใช้ท่อแบบให้ความร้อน (heated tube) จะลดการเกิดหยดน้ำจากการควบแน่นในท่อได้ หรือหากไม่มีท่อร้อน อาจลองปรับระดับความร้อนของเครื่องทำความชื้น (humdifier) ให้น้อยลงก็อาจช่วยลดหยดน้ำได้บ้างแต่จะไม่เท่ากับการใช้ท่อร้อนครับ

  3. ใช้เเล้วมึนหัวครับ มันเป้นอาการปกติไหมครับ ผมใช้มา 3 วันเเล้วครับ

    1. อาจเกิดจากการตั้งค่าแรงดันหรือค่าอื่นๆไม่เหมาะสมได้ รบกวนติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลท่านเพื่อปรึกษาเพิ่มเติมครับ

  4. ใช้เครื่องทดลองที่โรงพยาบาลนำมาให้ใช้ ปัญหาคือเป็นคนชอบอ้าปากขณะนอนหลับ ใช้สายรัดคางแต่รู้สึกรำคาญ และพอนอนตะแคง หน้ากากครอบจมูกก็ชอบหลุด มีวิธีแก้ไขอย่างไรได้บ้างครับ

    1. อาจต้องทดลองใช้เป็นหน้ากากแบบสอดจมูก (Nasal Pillow Mask) อาจช่วยลดเรื่องลมรั่วเวลานอนตะแคงได้ หรืออีกทางที่มักใช้แก้หรือลดการรั่วของแรงดันลมจากการอ้าปาก คือใช้เป็นหน้ากากแบบครอบจมูกและปาก (Full Face Mask) แต่หน้ากากแบบนี้จะอึดอัดมากกว่าหน้ากากทั้งสองแบบที่กล่าวมา และอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น คอแห้งหรือมีลมเข้ากระเพาะทำให้ท้องอืดได้ครับ

  5. อยู่ระหว่าทดลองเครื่องapex xtคืนแรกใส่ไป2200นถึ0130น.คอแห้งไอมากจนต้องถอดเครื่อง เซลล์​แนะให้ลองอีก2คืนถ้าไม่ดีจะเอารุ่นที่มีไอน้ำมาทดลอง แบบนี้ถูกต้องหรือไม่ เห็นบอกว่าอาการไอเป็นกันได้จริงหรือไม่ครับ

    1. ถ้าใช้ cpap แล้วคอแห้งจนไอ จำเป็นต้องใช้รุ่นที่มีเครื่องทำความชื้น (heated humidifier) ครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *