สาระน่ารู้เกี่ยวกับปัญหานอนกรน และวิธีรักษาด้วยเครื่อง BiPAP
อาการนอนกรน นอกจากส่งผลเสียต่อสุขภาพแล้ว การกรนเสียงดังยังเป็นการรบกวนคนใกล้ชิดหรือคนที่นอนด้วย โดยอันตรายร้ายแรงที่เกิดจากการนอนกรนในระดับรุนแรง ก็คือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (อ่านบทความเกี่ยวกับ 3 ประเภทของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ) สำหรับแนวทางการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด และเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ก็คือ การรักษาด้วย เครื่องช่วยหายใจ CPAP หรือรักษาด้วย เครื่อง BiPAP
สาระน่ารู้เกี่ยวกับปัญหานอนกรน
ปัญหาการนอนกรน ทั้งกรนแบบปกติธรรมดาที่ไม่ได้ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพ และอาการนอนกรนที่อยู่ในขั้นรุนแรงจนส่งผลให้ผู้ที่นอนกรนมีภาวะหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ขณะนอนหลับทำให้ต้องตื่นบ่อย ๆ ล้วนเป็นปัญหาที่มีผลต่อสุขภาพและส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้ชีวิต เช่น
- กรณีนอนกรนแบบไม่รุนแรง ทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเองเมื่อต้องทำงานหรือทำกิจกรรมที่ต้องนอนพักแรมร่วมกันเป็นหมู่คณะ
- การนอนกรนในระดับปานกลางถึงขั้นรุนแรง ส่งผลให้มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่อาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้ป่วย
- เป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ง่วงนอนตลอดเวลาหรือง่วงนอนระหว่างวัน เนื่องจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับทำให้ตื่นนอนบ่อย ๆ
- ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การทำงาน การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และยังทำให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานได้ง่าย
วิธีรักษาอาการนอนกรน
อาการนอนกรน เป็นปัญหาต่อสุขภาพที่สามารถรักษาได้ และการรักษายังทำได้หลายวิธี เช่น รักษาอาการนอนกรนด้วยวิธีผ่าตัด และรักษานอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งการรักษาทั้ง 2 แนวทางมีข้อดีข้อด้อยและขั้นตอนที่แตกต่างกัน ดังนี้
- รักษาอาการนอนกรนด้วยวิธีผ่าตัด
การรักษาอาการนอนกรน ด้วยวิธีผ่าตัดยังแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ การใช้เครื่องวิทยุความถี่สูงจี้เข้าไปในตำแหน่งทางเดินหายใจที่ตีบแคบ เช่น บริเวณเยื่อจมูก บริเวณโคนลิ้น และเพดานอ่อน ส่วนแนวทางที่ 2 ได้แก่ การผ่าตัดต่อมทอนซิล ซึ่งปัญหาต่อมทอนซิลโตเป็นสาเหตุสำคัญของการนอนกรน โดยมากการผ่าตัดมักจะทำให้เสียงกรนดีขึ้น แต่ไม่สามารถรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับให้ดีขึ้นได้ทั้งหมด จึงเป็นการรักษาเสริมกับวิธีอื่น ๆ - รักษาอาการนอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัด
ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ สามารถเลือกรักษาอาการนอนกรนที่ไม่ต้องผ่าตัดได้ หลายแนวทาง ดังนี้- รักษาโดยการใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก วันละครั้งก่อนนอน ข้อดีในการรักษาด้วยวิธีนี้ก็คือ จะทำให้เยื่อบุจมูกยุบบวม ทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้นและทำให้เสียงกรนเบาลง
- ปรับเปลี่ยนการนอน โดยนอนศีรษะสูงเล็กน้อย ประมาณ 30 องศาจากแนวพื้นราบ จะช่วยลดบวมของเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้บ้าง หลีกเลี่ยงการนอนหงายเพราะจะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนมากขึ้น ควรนอนในท่าตะแคงอาจใช้หมอนข้างหนุนหลังป้องกันการนอนหงายในช่วงที่ผู้ป่วยไม่หลับไม่รู้ตัว
- ลดน้ำหนักตัว กรณีผู้ป่วยที่นอนกรนมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน จะมีไขมันมาพอกรอบคอ หรือทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบควรลดให้น้ำหนักอยู่ในระดับที่แพทย์แนะนำ
- การรักษาโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ เครื่อง CPAP เป็นเครื่องช่วยหายใจชนิดครอบจมูกหรือครอบทั้งปากและจมูกของผู้ป่วยขณะนอนหลับ และเครื่อง BiPAP เป็นเครื่องช่วยหายใจ แรงดัน 2 ระดับ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่นอนกรนขั้นรุนแรงและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
อ่านเพิ่มเติม: รายชื่อโรงพยาบาลรักษาอาการนอนกรน
การรักษาอาการนอนกรนด้วยเครื่อง BiPAP
การรักษาอาการนอนกรนด้วยเครื่อง BiPAP เป็นการรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด ข้อดีก็คือ BiPAP เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้อย่างเห็นผล การทำงานของเครื่องจะใช้แรงดัน 2 ระดับ คือเครื่องจะอัดก๊าซหรือลมด้วยความดันสูงในช่วงที่ผู้ป่วยหายใจเข้า และผ่อนความดันลงในช่วงหายใจออก สามารถปรับระดับแรงดันให้เหมาะกับอาการของผู้ป่วยได้
ประโยชน์ของการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ CPAP และ BiPAP
- เครื่อง BiPAP เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่แพทย์และผู้เชี่ยวชาญในการรักษาอาการนอนกรนจากทั่วโลกให้การยอมรับว่าสามารถรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้อย่างเห็นผล
- สำหรับการใช้เครื่อง CPAP เป็นการรักษาพยาบาลอาการนอนกรนในเบื้องต้นหากใช้เป็นประจำทุกคืนจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ไม่มีปัญหาในการนอนกรนอีกต่อไป ลดความเสี่ยงจากภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ลดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ เช่น ความดัน และโรคหัวใจ
- การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ CPAP และ BiPAP สามารถหาซื้อได้ง่ายไม่จำเป็นต้องเดินทางไปซื้อหรือสั่งซื้อจากต่างประเทศ เพราะสามารถหาซื้อได้จากศูนย์ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งมีหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ
- สำหรับการรักษาด้วยอาการนอนกรนด้วยเครื่อง CPAP และเครื่อง BiPAP ถ้ากรณีผู้ป่วยไม่พร้อมที่จะซื้อเครื่องใหม่ๆ บริษัทตัวแทนจำหน่ายหลายแห่งมีบริการให้เช่าและจำหน่ายเครื่องช่วยหายใจ CPAP และ BiPAP มือสองทุกรุ่นและทุกรูปแบบในราคาพิเศษ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วย
- ผู้ที่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ สามารถเบิกค่าเครื่อง CPAP และเครื่อง BiPAP ได้เครื่องละ 20,000 บาท หากมีส่วนเกินหรือเครื่องมีราคาแพงกว่า 20,000 ผู้ป่วยเป็นผู้รับผิดชอบส่วนต่าง (ดู ราคาเครื่อง CPAP และ ราคาเครื่อง BiPAP แต่ละรุ่นได้ที่นี่)
สำหรับวิธีรักษาอาการนอนกรนทั้งระดับที่ไม่รุนแรงและอาการนอนกรนที่อยู่ในขั้นรุนแรง ด้วยเครื่องเครื่อง CPAP และเครื่อง BiPAP ซึ่งเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือแพทย์ที่นำเข้ามาจำหน่ายโดยบริษัทตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย การรักษาจึงควรได้รับการวินิจฉัยและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทตัวแทนจำหน่ายโดยตรง