การดูแลผู้ป่วยเจาะคอ (Tracheostomy) ที่บ้าน

การดูแลผู้ป่วยเจาะคอที่บ้าน

การดูแลผู้ป่วยเจาะคอที่บ้าน เป็นการดูแลที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการดูแลที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ซึ่งในบทความที่แล้วเราได้กล่าวถึงเทคนิคการเลือกหน้ากากสำหรับเครื่องช่วยหายใจในเบื้องต้นไปแล้ว

ในบทความนี้เราจะมาลงรายละเอียดถึงการดูแลผู้ป่วยเจาะคอที่บ้านรวมถึงการเลือกใช้เครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเจาะคอกันครับ

การเจาะคอ (Tracheostomy) คืออะไร

การเจาะคอ (Tracheostomy) คือ การเปิดท่อทางเดินหายใจส่วนต้น ในคนไข้ที่มีภาวะทางเดินหายใจส่วนบนถูกปิดกั้น จนไม่สามารถใช้จมูกหรือปากในการหายใจได้ แพทย์จึงต้องทำการย้ายตำแหน่งของการหายใจโดยการสร้างทางติดต่อระหว่างหลอดลมกับผิวหนังบริเวณด้านหน้าของลำคอตรงส่วนที่อยู่ใต้กล่องเสียงแทน

เพื่อบรรเทาอาการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจส่วนบนหรือในการดูแลเสมหะและป้องกันการสำลักในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานานหรือผู้ป่วยที่มีเสมหะมากไม่สามารถไอออกเองได้

ผู้ป่วยประเภทไหนบ้างที่ควรได้รับการเจาะคอ

การเจาะคอจะทำในผู้ป่วยที่ประสบภาวะบางอย่างที่อุดกั้นทางเดินหายใจเอาไว้จนคนไข้ไม่สามารถหายใจได้เอง ไม่ว่าจะเป็นแบบเฉียบพลันหรือว่าเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยไม่รู้สติ ผู้ป่วยอัมพาตและผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจนานๆ จนทำให้เกิดพังพืดบริเวณกล่องเสียง

การดูแลผู้ป่วยเจาะคอที่บ้าน

ในช่วงสัปดาห์แรกหลังการเจาะคอ แพทย์จะเป็นผู้ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด คอยตรวจสอบว่ามีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ เนื่องจากเป็นช่วงที่ยังเสี่ยงต่อการที่ท่อจะหลุดได้ง่ายมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นช่วงที่ต้องใส่ใจในเรื่องของความสะอาดเป็นอย่างยิ่ง เมื่อครบ 7 วันหรือ 1 สัปดาห์แล้วคนไข้สามารถกลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านได้

ซึ่งโดยทั่วไปการเจาะคอจะทำเพื่อคนไข้ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในการดำรงชีวิตที่บ้าน เพราะการเจาะคอทำให้สามารถดูแลได้ง่ายกว่า และลดความเสี่ยงจากการเลื่อนหลุดได้มากกว่านั่นเอง

วิธีดูแลผู้ป่วยเจาะคอที่บ้าน

  1. ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังให้การดูแลผู้ป่วย
  2. ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดบริเวณข้อต่อต่างๆ
  3. จัดท่าให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกและหมั่นพลิกตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง
  4. ดูแลท่อหลอดลมคอให้อยู่กับที่
  5. ฟังเสียงการทำงานของเครื่องช่วยหายใจ
  6. หมั่นสังเกตอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ถ้าหากพบอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน ไม่ว่าจะเป็น

  • ท่อหลอดลมหลุด สามารถสังเกตได้จาก ผู้ป่วยผู้ออกเสียงได้, ช่วงหายใจออก ไม่เห็นละอองไอน้ำขึ้นมาตามท่อหลอดลมคอ, ผู้ป่วยกระสับกระส่าย เป็นต้น
  • ท่อชั้นในหายหรือไม่สามารถใส่ท่อเข้าไปได้
  • หายใจลำบาก
  • มีอาการหอบเหนื่อย
  • มีอาการติดเชื้อ ปวด บวม แดง หรือมีหนองบริเวณที่เจาะคอ
  • มีเลือดออกจากท่อหลอดลม

เครื่องช่วยหายใจประเภทไหนที่ใช้กับผู้ป่วยเจาะคอได้

เพราะไม่ใช่เครื่องช่วยหายใจทุกรุ่นที่จะสามารถนำมาใช้งานได้ในผู้ป่วยเจาะคอ ดังนั้นท่านควรได้รับการแนะนำจากแพทย์ หรือสอบถามกับทางผู้จำหน่าย ตัวอย่างเครื่องช่วยหายใจที่สามารถใช้กับผู้ป่วยเจาะคอได้ เช่น ResMed Stellar 150 เป็นต้น

22 ความคิดเห็น

  1. ช่วยแนะนำทีคะ😔พ่อปอดติดเชื้อดื้อยาหลังผ่าตัดกะเพาะใส่ท่อหายใจ2ครั้งผ่าตัดกะเพาะ2ครั้งนอนicuเดือนกว่าตอนนี้ไม่รู้สึกตัวคะแต่หมอขอเจาะคอ เราเลือกไม่เจาะคะ อยากทราบว่าข้อดีข้อเสียต่อจากนนี้มีอะไรบ้างคะ

    1. ส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นผู้ป่วยไม่รู้สติ ผู้ป่วยอัมพาต หรือผู้ป่วยติดเตียง แพทย์มักจะให้ผู้ป่วยทำการเจาะคอ หากผู้ป่วยหรือญาติไม่ประสงค์ให้ทำการเจาะคอ ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเคสเพื่อรับทราบข้อดีข้อเสีย รวมทั้งวิธีการดูแลผู้ป่วยเพิ่มเติมหากต้องทำการเจาะคอครับ เนื่องแพทย์จะทราบรายละเอียดอาการของคนไข้ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละเคสครับ

  2. ผู้ป่วยเจาะคอรักษาโรคมา5-6เดือนแล้วไอมากทั้งวันมีเสมหะนอนลงไม่ได้มีวิธีแก้อย่างไรค่ะ

    1. แนะนำให้เพิ่มความชื้นในอากาศที่ผู้ป่วยหายใจเข้า เนื่องจากจะทำให้เสมหะลดความเหนียวลงและไม่ติดค้างในช่องคอ ถ้ามีการให้ออกซิเจนหรือเครื่องช่วยหายใจจะสามารถติดตั้งเครื่องทำความชื้นเพิ่มได้ นอกจากนี้ก็พยายามดูดเสมหะให้บ่อยขึ้น ทั้งนี้กรุณาปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยของท่านก่อนจะทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพราะแพทย์จะทราบรายละเอียดและวิธีการแก้ไขที่เหมาะกับสภาพและอาการของผู้ป่วยแต่ละคนมากกว่าผมครับ

  3. พ่อเจาะได้ประมาณ14-15วันไอตลอดเวลายิ่งกลางคืนไอทั้งคืนเสมหะเยอะมาก ทั้งที่ดูดเสมหะแล้วแบบนี้ปกติไหมคะ ผู้ป่วยทานข้าวเดินเล่นได้ปกติค่ะ

    1. ถ้าผู้ป่วยเจาะคอมีเสมหะเยอะทำให้ไอตลอดเวลา อาจเป็นเพราะเสมหะมีความข้นเหนียวทำให้ระคายเคือง แนะนำให้เพิ่มความชื้นในอากาศเพื่อลดความเหนียวของเสมหะ ถ้าใช้เครื่องช่วยหายใจหรือให้ออกซิเจนแนะนำให้มีตัวทำความชื้นหรือให้อากาศผ่านกระบอกน้ำ หรือถ้าไม่ได้ใช้เครื่องดังกล่าวก็แนะนำให้ใช้เครื่องทำความชื้นในอากาศ หรือลองนอนในห้องที่ไม่ใช้เครื่องปรับอากาศดู แต่ทั้งนี้ก่อนเพิ่มความชื้นดังที่กล่าวมาควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งนะครับ

    1. การให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยเจาะคอขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่รักษาครับ ว่าจำเป็นต้องให้หรือไม่ ถ้าให้ต้องใช้ปริมาณเท่าไหร่ และใช้นานเท่าไหร่ครับ

  4. ผู้ป่วยเจาะคอเมื่อหายดีแล้ว(ประมาณ 2 ปี) ควรเย็บปิดหรือปล่อยให้ปิดเอง

    1. ขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ดูแลเป็นผู้พิจารณาครับ

  5. คนเคยเจาะคอแล้วคอเป็นบุ๋มลึกเข้าไปเป็นรอยสามารถแก้ไขให้กลับมาได้ไหมค่ะ เสียงก็แหบตามไปด้วย

    1. แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย ปกติส่วนใหญ่ก็ปล่อยไว้แบบนั้น แต่ถ้ามีปัญหาอื่นๆ ด้วยแพทย์อาจส่งต่อให้ศัลยแพทย์ช่วยดูให้ครับ

  6. ผู้ป่วยติดเตียงเจาะคอชอบไอมีเสหะป่นน้ำลายแบบนี้ปกติไหมค่ะ(ไม่บ่อยเป็นทีนึง1-2วัน)

    1. ถ้าอยากให้ผู้ป่วยสบายที่สุดก็ไม่ควรมีครับ แนะนำให้ดูดเสมหะให้ผู้ป่วยบ่อยขึ้น และถ้าใช้เครื่องช่วยหายใจหรือให้ออกซิเจนด้วยก็ควรใช้กระบอกน้ำทำความชื้นร่วมด้วย เพื่อลดเสมหะหรือทำให้เสมหะนุ่มขึ้นครับ

  7. คือคนไข้เจาะคอ กินอาหารปกติ ล้างทำความสะอาดท่อเช้าเย็น แต่ลมหายใจมีกลิ่น เกิดจากอะไรคะ

    1. อาจเกิดจากกลิ่นของเสมหะที่ค้างในช่องทางเดินหายใจ ลองใช้เครื่องดูดเสมหะให้คนไข้แล้วดูว่ากลิ่นหายหรือไม่นะครับ

    2. คนไข้หลังเจาะคอ ใส่สายให้อาหารทางจมูก ต้องใช้เวลากี่วันคะ ถึงจะกินอาหารทางปากได้ ต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง

      1. ต้องให้แพทย์ปิดคอก่อนจึงจะกลับมาทานอาหารทางปากได้ครับ รบกวนปรึกษาแพทย์ที่รักษาซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะปิดท่อเจาะคอได้เมื่อไหร่ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับอาการหรือโรคของคนไข้ครับ

  8. คนไข้เจาะคอ ชอบถอดท่อชั้นในออกเปนเวลานานๆ เพราะบอกว่า หายใจได้คล่องกว่า สบายกว่า และไอน้อยกว่า ทำแบบนี้ทอดท่อชั้นในนานๆแบบนี้จะได้มั๊ยคะ และจะมีผลเสียอย่างไรบ้างคะ ช่วยหน่อยคะคนไข้ดื้อมาก

    1. ท่อเจาะคอไม่ควรถอดเข้าถอดออกบ่อยๆ ครับ เพราะอาจเสี่ยงกับการติดเชื้อได้ ลองพยายามอธิบายกับคนไข้ดูนะครับ และยิ่งหากแพทย์ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจด้วยแล้วไม่ควรถอดออกบ่อยๆ แต่ควรเปลี่ยนชุดท่อใหม่หรือนำไปอบฆ่าเชื้อตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำครับ

  9. บอลลูนที่ต่อจากรูที่เจาะ ปกติจะมีลมพองๆ ถ้ามีน้ำเข้าไปจนเกือบเต็มลูกบอลลูน ต้องทำอย่างไรคะ
    ผู้ป่วยใช้ bi pap คะ

    1. ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยเลยจะดีที่สุดครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *